Abstract:
การสำรวจความหลากหลายของไผ่ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดปราจีนบุรี สำรวจและเก็บตัวอย่างไผ่ที่แพร่กระจายในพื้นที่ชุมชนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 พบไผ่ 21 ชนิด 6 สกุล ได้แก่ สกุล Bambusa, Dendrocalamus, Thyrsostachys, Vietnamosasa, Gigantochloa และ Schizostachyum จังหวัดสระแก้ว พบไผ่ 13 ชนิด สกุลไผ่ป่า (Bambusa) พบมากที่สุด 8 ชนิด จังหวัดปราจีนบุรี พบไผ่ 19 ชนิด สกุลไผ่ป่า (Bambusa) พบมากที่สุด 10 ชนิด ไผ่รวกและไผ่เลี้ยงเป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันแพร่หลายทั้ง 2 จังหวัด เพื่อใช้บริโภคและใช้ประโยชน์จากลำไผ่ ไผ่ต่างชนิดกันมีลักษณะกายวิภาคต่างกัน กลุ่มท่อลำเลียงบริเวณผิวลามีขนาดเล็กและเรียงตัว
กันหนาแน่น ในขณะที่กลุ่มท่อลำเลียงด้านในมีขนาดใหญ่กว่าและเรียงตัวกันหลวม ๆ ไผ่ที่มีสัดส่วนไฟเบอร์สูงมีแนวโน้มของสมบัติเชิงกล
ที่สูงตามกัน ไผ่ปล้องห่าง ลำมะลอก และไผ่รวก จัดอยู่ในกลุ่มไผ่ที่มีความหนาแน่นสูง มีค่า 0.863, 0.853 และ 0.833 g/cm3 ตามลำดับ
ไผ่บงมีความหนาแน่นต่ำที่สุด 0.54 g/cm3 ไผ่ซางนวลและไผ่รวก จัดอยู่ในกลุ่มไผ่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แตกหักสูง เท่ากับ 210.783 และ 204.25 MPa ตามลำดับ ไผ่ตงลืมแล้งและไผ่บง จัดอยู่ในกลุ่มไผ่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แตกหักต่ำ เท่ากับ 96.647 และ 97.953 MPa ตามลำดับ ไผ่ซางนวล มีค่าสัมประสิทธิ์ยืดหยุ่นสูงที่สุด เท่ากับ 16791.7 MPa ในขณะที่ไผ่บง มีค่าสัมประสิทธิ์ยืดหยุ่นต่ำที่สุด เท่ากับ 5000.7 MPa ไผ่หกมีแรงอัดขนานเสี้ยนสูงที่สุด เท่ากับ 71.51 MPa ในขณะที่ไผ่หม่าจู มีแรงอัดขนานเสี้ยนต่ำที่สุด เท่ากับ33.94 MPa ไผ่ที่มีศักยภาพในการใช้งานรับแรง ได้แก่ ไผ่ซางนวล และไผ่ปล้องห่าง