dc.description.abstract |
รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการคิด โดยมีขั้นตอนการวิจัยและผลการวิจัยดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษารูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 200 คน และนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จำนวน 200 คน ที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการคิด ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู (ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปลิสเรล) พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสมาชิกครอบครัว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ มิติด้านหน้าที่ มิติด้านรูปแบบ มิติด้านระดับ มิติด้านขอบเขต มิติด้านการโน้มเอียง มีค่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถวัดองค์ประกอบของรูปแบบการคิดได้
2) เมื่อแยกวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พบว่า รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครูมหาวิทยาลัยบูรพา และ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีองค์ประกอบร่วมกัน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ มิติด้านหน้าที่ มิติด้านรูปแบบ มิติด้านระดับ มิติด้านขอบเขต มิติด้านการโน้มเอียง มีค่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถวัดองค์ประกอบของรูปแบบการคิดได้
ขั้นตอนที่ 2 เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครู
คณะวิจัยได้พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตครูโดยใช้กรอบแนวคิดด้านการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด หลักการทางจิตวิทยา หลักการด้านการเรียนรู้ หลักการด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน บูรณาการเพื่อสร้างเป็นหลักสูตรฯ ที่มีองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการคิดใน 5 มิติ ได้แก่ มิติหน้าที่ มิติรูปแบบ มิติระดับ มิติขอบเขต มิติโน้มเอียง หลักสูตรสามารถในการอบรมเพื่อพัฒนารูปแบบการคิด ใช้ระยะเวลาในการอบรม 6 ชั่วโมง ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีคะแนนรูปแบบการคิด ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จำนวน 40 คน
ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย รูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม สุงกว่าที่ก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.12 > X = 4.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.907, P = .000) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายองค์ประกอบพบว่า
องค์ประกอบมิติด้านหน้าที่ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X=5.16> X =4.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05( t=4.577, P =.000)
องค์ประกอบมิติด้านรูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.09 > X = 4.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 3.515, P = .001)
องค์ประกอบมิติด้านระดับ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.16 > X = 4.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.159, P = 0.37)
องค์ประกอบมิติด้านขอบเขต พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 5.28> X = 5.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 2.724, P =.010)
องค์ประกอบมิติด้านการโน้มเอียง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากที่ได้รับการเข้าร่วมหลักสูตรเสริมสร้างรูปแบบการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม (X = 4.92 < X = 4.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.980, P = .005) |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This is the study report in the topic of “Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students: a comparative study between faculty of education, National University of Laos.” The purpose is to study and develop thinking patterns. The research process and research results are as follows.
Step one is to study the Thinking style for 21st century learning of undergraduate students. Comparison between faculty of education, Burapha University, Thailand and faculty of education, National University of Laos. The samples used in this study are 200 teacher students from faculty of education, Burapha University and 200 teacher students from National University of Laos. The results were as follows.
1) A confirmatory factory analysis of Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students (The program LISREL) found that the model confirmatory factor analysis of Thinking style for 21 st century learning of family member consist of 5 components: There are; duty dimension, level dimension, border dimension and incline dimension. They are consistent with empirical data, with high standard component in the statistical significance at 0.1 level and they can be measured as the elements of a form of thought.
2) When parsing a sample of teacher students from Faculty of Education Burapha University and teacher students of the National University of Laos, research found that the Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students from two universities consists of 5 components: There are; duty dimension, pattern dimension, level dimension, border dimension and incline dimension. They are consistent with empirical data, with high standard component in the statistical significance at 0.1 level and they can be measured as the elements of a form of thought.
Step two is to develop programs that enhance the Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students
Researchers have developed the Thinking style for 21 st century learning of undergraduate students with a framework for developing cognitive skills, Principles of Psychology, Principles of Learning, Principles of curriculum development and instruction.
They are well were integrated to create a curriculum with the development of thought patterns in 5 dimensions. There are: duty dimension, pattern dimension, level dimension, The training course is to develop thinking patterns. It takes six hours of training quality and efficiency.
3) To study the effects of trial curriculum for enhancing the thinking style for 21 st century learning.
The samples are 40 teacher students from faculty of Education, Burapha University who have scores on thinking patterns below than 25 percentile.
The results of trial curriculum for enhancing the thinking style for 21 st century leaning found that the samples have average scores of thinking style for 21 st century learning as a whole was higher than before training (X = 5.12 > X = 4.81), statistically significant level 0.5 (t = 4.907, P = .000) when consider separate element found that
The duty dimensional element was found that the samples after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average score higher than before training (X = 5.16> X = 4.71), statistically significant at .05 level (t = 4.577, P = .000).
The pattern dimensional element was found that the samples after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average scores higher than before training (X = 5.09> X = 4.67), statistically significant at 0.5 level ( t= 3.515, P = .001).
The level dimensional element was found that the samples after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average score higher than before training was found that the sample after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average scores higher than before training ( X=5.16> X = 4.95), statistically significant at .05 level ( t= 2.159, P = .037).
The border dimensional element was found that the samples after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average scores higher than before training (X = 5.28 > X = 5.05), statistically significant at .05 level ( t= 2.724, P =.010).
The decline dimensional element was found that the sample after attending the training course of thinking style for 21 st century learning. They have average scores higher than before training (X = 4.92> X = 4.65), statistically significant at .05 level ( t= 2.980, P = .005). |
en |