Abstract:
โรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ จัดเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยเกิดจากการย่อยสลายสารนิโคตินในบุหรี่ของเอนไซม์ CYP2A6 ในตับ ส่งผลให้ระดับนิโคตินในเลือดที่ไปกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีนที่สมองลดลง ทำให้ผู้สูบบุหรี่มีความต้องการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่เอนไซม์ CYP2A13 ที่ปอดและระบบทางเดินหายใจกระตุ้นสารก่อมะเร็งกลุ่มสารประกอบไนโตรซามีน NNK ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้การลดการทำงานของเอนไซม์ทั้งสองน่าจะช่วยลดการสูบบุหรี่และอัตราการเกิด
โรคมะเร็งปอดได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและทดสอบฤทธิ์ของพืชสมุนไพรพื้นบ้านจากโครงการป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) ที่ปราชญ์ชาวบ้านใช้ให้การรักษาชาวบ้านที่มีต่อการทำงานของเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 ในหลอดทดลอง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดพืชสมุนไพรออกฤทธิ์ต่อเอนไซม์ CYP2A6 และ CYP2A13 แตกต่างกัน โดยสารสกัดพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง CYP2A6 และ CYP2A13 ได้ดี โดยสารสกัดจากรากต้นเข็มไอเดียและใบลายกนกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้ด้วยกลไกการยับยั้งผันกลับไม่ได้แบบ
Mechanism Based Inhibition (MBI) การค้นหาสารสำคัญโดยการใช้ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 เป็นตัวนำ (Bio-assay guide isolation) พบว่าที่ความเข้มข้น 10 g/mlส่วนสกัดย่อยเอกเซนและเอทิล อะซิเทตของใบลายกนก (LKH และ LKE) ที่ LKH3.3 - LKH3.5, LKH4.4, LKH4.5, LKH7.1-7.2, LKE3.1 - LKE3.4, และ LKE7.1-LKE7.4 รวมถึงส่วนสกัดย่อยเอกเซนและเอทิล อะซิเทตของรากเข็มไอเดีย (AWH และ AWE) ที่ AWHF3, AWHF4, AWHF8, AWEF5, AWEF7, AWEF12 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ได้ดีมาก อย่างไรก็
ตาม จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารเบื้องต้นด้วยเทคนิค NMR จะพบว่าสารในส่วนสกัดย่อยเหล่านี้ยังคงมีสารเจือปนอยู่เล็กน้อย ทำให้ต้องทำบริสุทธิ์เพิ่มเติมเพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์เพียงพอที่จะนำมาศึกษากลไกการยับยั้งต่อไป