DSpace Repository

การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรในเขตโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา)

Show simple item record

dc.contributor.author กล่าวขวัญ ศรีสุข th
dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:53Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1856
dc.description.abstract สาบแร้งสาบกา (วงศ์ Asteraceae) เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ทั่วไปในทางการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ จึงเป็นพืชที่อาจจะเป็นแหล่งของสารต้านการอักเสบที่ดี โดยก่อนหน้านี้คณะผู้วิจัยได้รายงานว่าส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกามีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไนตริก ออกไซด์ (NO) พรอสตาแกลนดิน E2 (PGE2) ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต และส่วนสกัดย่อยน้ำของส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกาในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วยไลโพพิลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) ยิ่งไปกว่านั้นส่วนสกัดที่มีฤทธิ์ดียังถูกนำมาแยกส่วนสกัดย่อย หรือสารกึ่งบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์โดยวิธีฤทธิ์ชีวภาพน้ำการสกัด ค่า IC50 ของการยับยั้งไนตริกออกไซด์ของส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต และส่วนสกัดย่อยน้ำ มีค่าเท่ากับ 39.00 ± 8.97, 8.27 ± 0.21 และ 107.68 ± 25.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิของส่วนสกัดเอทานอลจากใบสาบแร้งสาบกาถูกนำมาแยกเป็นส่วนสกัดย่อย 10 ส่วนสกัด (F1-F910) ส่วนสกัดย่อย F8 และ F9 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ที่ดีโดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ ท้าการแยกส่วนสกัดย่อย F8 ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโท-กราฟีได้ 14 ส่วนสกัดย่อย (F8.1 ถึง F8.14) และแยกส่วนสกัดย่อย F9 ด้วยเทคนิค HPLC ได้ 4 ส่วนสกัดย่อย น้าไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์และความมีชีวิตรอดในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS พบว่า ส่วนสกัดย่อย F8.4 ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีที่สุด โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ และส่วนสกัดย่อย F9.4 ที่ความเข้มข้น 10 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีกว่าส่วนสกัดย่อยอื่นๆ ที่แยกได้จากส่วนสกัดย่อย F9 นอกจากนี้ยังพบสาร quercetin-3-O-rhamnopyranoside ในส่วนสกัดย่อย F8-F10 ในขณะที่สาร quercetin พบในส่วนสกัดย่อย F8 และ F9 สาร quercetin และ quercetin-3-O-rhamnopyranoside นี้มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นโดยไม่แสดงความเป็นพิษอย่างมีนัยสำคัญ สาร quercetin ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน iNOS และ COX-2 ส่วนสาร quercetin-3-O-rhamnopyranoside (25-200 ไมโครโมลาร์) ลดการแสดงออกของโปรตีน เท่านั้นไม่ยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน COX-2 ดังนั้น quercetin และ quercetin-3-O-rhamnopyranoside อย่างน้อยเป็นสารที่แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบของส่วนสกัดย่อย F8-F10 ของใบสาบแร้งสบกา ผลการศึกษาเหล่านี้อาจเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้สมุนไพรสาบแร้งสาบกาเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบต่าง ๆ และยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาตัวยาต้านอักเสบชนิดใหม่ต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) งบประมาณปี 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร th_TH
dc.subject ฤทธิ์ต้านการอักเสบ th_TH
dc.subject สาบแร้งสาบกา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรในเขตโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) th_TH
dc.title.alternative Investigation of anti-inflammatory activities of medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest (Chaipattana foundation), Chantaburi province en
dc.type Research
dc.author.email klaokwan@buu.ac.th
dc.author.email ekaruth@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative Ageratum conyzoides (Asteraceae) has been used in traditional medicine for treatment of various inflammatory diseases. It might be a good source of natural anti-inflammatory agents. In our previous study, the ethanol extracts of A. conyzoides leaves exhibited high inhibitory effects on NO and PGE2 production. Thus, the aim of this study was to determine the anti-inflammatory activity of the hexane, ethylacetate and water fractions of ethanol extract of A. conyzoides leaves in a lipopolysaccharide (LPS)-induced RAW264.7 macrophage model. Moreover, the active subfractions were isolated by anti-inflammatory activity-guided isolation. The IC50 values for NO production of hexane, ethylacetate and water fractions were 39.00 ± 8.97, 8.27 ± 0.21, and 107.68 ± 25.32 μg/mL, respectively. Ethyl acetate fraction of ethanol extract from A. conyzoides leaves were chosen to isolate by silica gel column chromatography to afford 10 subfractions (F1-F910). The subfractions F8 and F9 exhibited strong anti-inflammatory activity without cytotoxicity. Subfraction F8 was then fractioned by column chromatography to obtain 14 subfractions (F8.1-F8.14). Four subfractions (F9.1-F9.4) were obtained from fractionation of the F9 fraction by HPLC. The subfractions were evaluated their nitric oxide (NO) inhibitory effect and cell viability on LPS-stimulated RAW 264.7 macrophages. Subfraction F8.4 (10 μg/ml) showed the most potent inhibitory effect on NO production without cytotoxicity. And F9.4 subfraction (10 and 50 μg/ml) showed stronger inhibitory effect on NO production than other subfraction from F9 fraction. Moreover, quercetin-3-O-rhamnopyranoside was identified in F8-F10 while quercetin was found only in F8 and F9. Quercetin and quercetin-3-O-rhamnopyranoside inhibited LPS-induced NO production in a dose-dependent manner with no significant cytotoxicity. Quercetin suppressed the expression of iNOS and COX-2 protein. Quercetin-3-O-rhamnopyranoside (25-200 μM) down-regulated the expression of iNOS protein, but not COX-2. Therefore, quercetin and quercetin-3-O-rhamnopyranoside were, at least in part, compounds responsible for the anti-inflammatory activity of F8-F10 from A. conyzoides leaves. These findings may provide the scientific support to the use of A. conyzoides leaves in traditional medicine for the treatment of inflammatory-related diseases and also as the basis to develop a new anti-inflammatory agent en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account