DSpace Repository

การเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวและน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันแบบแช่แข็ง

Show simple item record

dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย th
dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:55Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:55Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/181
dc.description.abstract การศึกษาการพัฒนาวิธีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกัน ได้นำเอาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกัน มาใส่ในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่าง ๆ ที่อุณภูมิห้องเพื่อประเมินความเป็นพิษ แล้วนำเอาสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดที่เหมาะสมมาใช้ในการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันก่อนทำการแช่แข็งด้วยการพัฒนารุปแบบวิธีการแช่แข็งในลักษณะต่าง ๆ ผลการศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีต่อสเปิร์มกุ้งขาวโดยใช้สารไครโอโพเทคแทนท์ 10 ชนิดคือ ethanol , propylene, glycol, ethylene glycol, acetamide, sucrose, DMSO, methanol, glycerol, formamide และ trehalose ที่เข้มแข็ง 4 ระดับ คือ 5%, 10%, 15% และ 20% ในแต่ละความเข้มข้นแช่ถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวที่เวลา 0, 15, 30, 45 และ 60 นาที จากนั้นจึงนำถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวมาย้อมสีเพื่อประเมินเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิต ผลการทดลองปรากฎว่าการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวสามารถแช่แข็งและเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิ -30 หรือ -80 องศาเซลเซียส โดยการใช้สารละลาย calcium-free saline (Ca-F saline) เป้นสารละลายบัฟเฟอร์ และ DMSO หรือ sucrose เป็นสารไครโอโพรเทคแทนท์ และใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส/นาที หรือ 2 องศาเซลเซียส/นาที การศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีต่อน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันโดยใช้น้ำยา Calcium-free Hank’s balanced salt solution (C-F HBSS) เป็น sperm extender และใช้สารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ 9 ชนิด ได้แก่ DMSO, propylene glycol, ethylene glycol, glycerol, sucrose, methanol, ethanol, formamide และ trehalose ที่ความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ปรากฎว่าสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์หลายชนิดมีความเป็นพิษต่ำและมีความเหมาะสมในการนำไปแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันที่ความเข้มข้น หรือระยะเวลาสมดุลต่างๆ การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันโดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (10 องศาเซลเซียส/นาที) อัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (5 องศาเซลเซียส/นาที) และอัตราการลดอุณหภูมิอย่างช้า (3 องศาเซลเซียส/นาที) จากอุรหภูมิห้องจนถึงอุณหภูมิสุดท้าย -40 องศาเซลเซียส ก่อนแช่ในไนโตรเจนเหลวทันที พบว่า การใช้สารละลาย DMSO ที่ความเข้มข้น 10%และ 15%และทำการลดอุณหภูมิที่ระดับอัตราการลดอุณหภูมิด้วยอัตรา 10 องศาเซลเซียส/นาที มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาดุกอัฟริกันมีค่าเฉลี่ยประมาณ 33.3% หลังการละลายน้ำเชื้อแช่แข็ง โดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการละลานยน้ำเชื้อที่ 70 °C นาน 10 วินาที th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และ 2550 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กุ้งขาว - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.subject กุ้งขาว - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา th_TH
dc.subject น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา th_TH
dc.subject น้ำเชื้อแช่แข็ง th_TH
dc.subject ปลาดุกอัฟริกัน - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.subject ปลาดุกอัฟริกัน - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวและน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันแบบแช่แข็ง th_TH
dc.title.alternative Cryopreservation of white shrimp (Litopenaeus vannamei) spermatophore and african catfish (Clarias gariepinus) milt en
dc.type Research
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative Cryopreservation of white shrimp (Litopenaeus vannamei) spermatophores and Afican catfish (Clarias gariepinus) milt was developed from toxicity study approach to identify the appropriate type and concentration of cryoprotectants for further cryopreservation. Spermatophores of L.vannamei were exposed to various cryprotectants, namely, ethanol, propylene glycol, ethylene glycol, acetamidee, sucrose, dimethyl sulfoxide (DMSO) , methanol, glycerol, formamide and trehalose, at four concentration levels of 5, 10, 15 or 20% At each concentration level, spermatophores were exposed for 15, 30, 45 or 60 min. prior to evaluation of sperm viability. Spermatopores frozen to final temperatures of -30°C or -80°C using calcium-free saline (Ca-F saline) and DMSO or sucrose were able to survive at low temperatures after using freezing rates of -1°C/min or -2°C/min. Toxicity study on C. gariepinus sperm was performed by using calcium-free Hanks’balanced salt solution (C-F HBSS) as sperm extender with cryoprotectants (DMSO, propylene glycol, ethylene glycol, glycerol, sucrose, methanol, ethanol, formamide and trehalose) at four concentration levels (5%, 10%, 15% and 20%) for various exposure time. Several cryoprotectants had low toxicity on sperm motility and were used for sperm cryopreservation of C. gariepinus. Milt were cryopreserved at there freezing rate of -3, -5 and -10°C/min to final temperature of -40°C before plunging in liquid nitrogen. The use of 10 or 20% DMSO and a freezing rate of -10°C/min resulted in average sperm motility about 33.3 % after thawing at 70°C for 10 second. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account