dc.contributor.author | รัชนี วงศ์สุมิตร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:43Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:43Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1803 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารและเนื้อหาสารที่เปิดรับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีชีวิตอยู่รอดภายหลังการรักษาเกิด 5 ปี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่าง 22 คน ทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม และทฤษฎีการเลือกรับข่าวสาร ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักโรคมะเร็ง การสื่อสารภายในตนเองภายหลังทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งเต้านมจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกจะตกใจ เสียใจไม่ยอมรับผลการวินิจฉัย กลัวว่าคนทั่วไปจะรังเกียจ กลัวการสูญเสียเต้านม กลัวตาย ระยะต่อมาจะเริมทำให้ได้ ยอมรับกับการรักษา นำหลักธรรมเข้ามาการสื่อสาร ให้กำลังใจตนเอง สร้างความเชื่อว่าเมื่อเป็นได้ก็รักษาได้ คนไม่เป็นมะเร็งก็ต้องตายเหมือนกัน การสื่อสารระหว่างบุคคล พบว่า แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ผลการวินิจฉัยโรค แจ้งรายละเอียดของขั้นตอนการรักษา ผู้ป่วยจะเริ่มยอมรับวิธีการรักษาและแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวทราบ คนใกล้ชิดจะให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือในการดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพ และเน้นการปฏิบัติธรรมมากขึ้น การสื่อสารกลุ่มใหญ่ พบว่า ในแต่ละครั้งที่มาพบแพทย์ แพทย์จะเข้ามาพูดคุยและให้ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ภายหลังการรักษานานที่สุดมาให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยใหม่ มีการเข้ารับฟังความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มในลักษณะของเพื่อนช่วยเพื่อน การสื่อสารมวลชน พบว่า ผู้ป่วยจะเปิดรับสื่อตามวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์เอกสารเผยแพร่ของโรงพยาบาล หนังสือที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เนื้อหาที่สนใจศึกษา ได้แก่ การดูแลสุขภาพ อาหาร การออกกำลังกาย การทำสมาธิเนื้อหาสารที่เปิดรับ 3 อันดับแรก คือ เรื่องอาหารต้านมะเร็ง เรื่องการออกำลังกาย และเรื่องการฝึกสมาธิ | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การรักษา | th_TH |
dc.subject | การสื่อสารสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | มะเร้งเต้านม | th_TH |
dc.title | การสื่อสารสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีชีวิตอยู่รอดภายหลังการรักษามากกว่า 5 ปี | th_TH |
dc.title.alternative | Health communication of breast cancer patient who survived over 5 years after treatment | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | This research was purposed to investigate the processes of communication and media exposure among the breast cancer patients who have survived over five years after treatment. The research was conducted by applying qualitative methods and utilizing communication theory; the KAP theory and selective process theory. The 22 breast cancer patients were interviewed and observed. The research evidenced that most of sampling had previous awareness about cancer information. However, the attitudes about having breast cancer can be separated into 2 stages; the first stage, they still had shock, felt depressed and ignored clinical diagnosis because of their anxiety about social acceptance, losing their breast and fearing death. In the second stage, they were admitted for clinical treatment and then encouraged themselves by applying religions doctrine into their life. They also encourages themselves that breast cancer can be defeated as well as they believed no one can be mortal life. Interpersonal communication between doctors and patients was approached such as reporting clinical diagnosis, the breast cancer treatment program. Patients, then, harmonized treatment and informed their family who will assist them in nutrition and healthcare. Moreover, patients will emphasize their religious practice. For large group communication, doctors and breast cancer survivors who had longevity will communicate with the new patients during the follow-up care. They can advise new patients about how to take care of their health, sharing their past experiences as well as convey them to join support groups. Towards mass communication, patients disclosed media from daily life, for example, television, hospital’s leaflets, healthcare magazines etc. Consequently, the contents about healthcare, nutrition, exercises and meditation were required. The media exposures, among the breast cancer patients, were content on food fighting cancer, exercises and mediation. | en |