Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารและเนื้อหาสารที่เปิดรับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีชีวิตอยู่รอดภายหลังการรักษาเกิด 5 ปี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่าง 22 คน ทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม และทฤษฎีการเลือกรับข่าวสาร
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักโรคมะเร็ง การสื่อสารภายในตนเองภายหลังทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งเต้านมจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกจะตกใจ เสียใจไม่ยอมรับผลการวินิจฉัย กลัวว่าคนทั่วไปจะรังเกียจ กลัวการสูญเสียเต้านม กลัวตาย ระยะต่อมาจะเริมทำให้ได้ ยอมรับกับการรักษา นำหลักธรรมเข้ามาการสื่อสาร ให้กำลังใจตนเอง สร้างความเชื่อว่าเมื่อเป็นได้ก็รักษาได้ คนไม่เป็นมะเร็งก็ต้องตายเหมือนกัน
การสื่อสารระหว่างบุคคล พบว่า แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ผลการวินิจฉัยโรค แจ้งรายละเอียดของขั้นตอนการรักษา ผู้ป่วยจะเริ่มยอมรับวิธีการรักษาและแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวทราบ คนใกล้ชิดจะให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือในการดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพ และเน้นการปฏิบัติธรรมมากขึ้น การสื่อสารกลุ่มใหญ่ พบว่า ในแต่ละครั้งที่มาพบแพทย์ แพทย์จะเข้ามาพูดคุยและให้ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ภายหลังการรักษานานที่สุดมาให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยใหม่ มีการเข้ารับฟังความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มในลักษณะของเพื่อนช่วยเพื่อน การสื่อสารมวลชน พบว่า ผู้ป่วยจะเปิดรับสื่อตามวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์เอกสารเผยแพร่ของโรงพยาบาล หนังสือที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เนื้อหาที่สนใจศึกษา ได้แก่ การดูแลสุขภาพ อาหาร การออกกำลังกาย การทำสมาธิเนื้อหาสารที่เปิดรับ 3 อันดับแรก คือ เรื่องอาหารต้านมะเร็ง เรื่องการออกำลังกาย และเรื่องการฝึกสมาธิ