dc.contributor.author |
ปิยฉัตร ยิ้มศิริ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:45:55Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:45:55Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/178 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ ศึกษาเทคนิคการกำจัดขยะประเภทพลาสติกที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม (environmental friendly) โดยมุ่งเน้นเทคนิคที่จะไม่กิอให้เกิดมลพิษ (clean technology) ไพโรไลซิส (pyrolysis) ซึ่งเป็นวิธีที่ย่อยสลายสารออการ์นิคโดยการให้ความร้อนภายใต้สภาวะปราศจากออกซิเจนหรือสารทำปฎิกิริยา (reagent) ตัวอื่นๆกำลังเป็นที่สนใจและยอมรับเท่าเทียมเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดเชื้อเพลิงที่มีค่าได้อีก งานวิจัยนี้ได้นำคลื่นไมโครเวฟมาช่วยในการให้ความร้อน เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟสามารถทำให้เกิดความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ระบบเผาไมโครเวฟถูกติดตั้งกับเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟฟี เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ก๊าซผลิตภัณฑ์ได้ในระหว่างการไพโรไลซิส ตัวแปลสำหรับการทดลองได้แก่ โครงสร้างของพลาสติก ชนิดของตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟ ขนาดของพลาสติกและตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟ อัตราส่วนระหว่างพลาสติกและตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟ กำลังของคลื่นไมโครเวฟและเวลาในการไพโรไลซิส จากการทดลองโดยรวมทำให้ทราบว่า ก๊าซมีเทนจะเกิดขึ้นก่อนในกระบวนการไพโรไลซิส และเมื่อเวลาผ่านไป ปริมาณก๊าซมีเทนจะลดลง แต่ปริมาณก๊าซที่โมเลกุลใหญ่กว่า เช่น อีเทนและโพรเพน จะเพิ่มขึ้น ก๊าซผลิตภัณฑ์จะเกิดขึ้นภายใน 10 ถึง 20 นาที เมื่อเวลายาวนานกว่านี้ การเกิดก๊าซจะมีไม่มาก เมื่อทำการเพิ่มระดับพลังงานคลื่นไมโครเวฟจะทำให้อัตราการสลายตัวของพลาสติกเกิดเร็วขึ้นและได้ก๊าซที่ปริมาณมากขึ้นเช่นกัน พลาสติกเพียงอย่างเดียวไม่สามารถถูกไพโรไลซิสได้เนื่องจากพลาสติกมีความสามารถในการดูดซับคลื่นไมโครเวฟได้ต่ำ อุณหภูมิของพลาสติกจึงไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดการสลายตัวได้ แต่ตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟสามารถถูกไพโรไลซิสได้ โดยที่ขี้เลื่อยให้ก๊าซเชื้อเพลิงมากที่สุด รองลงมา คือแกลบ และถ่านให้ก๊าซน้อยที้สุดผลการทดลองจาก TAG ยืนยันข้อสรุปนี้เช่นกัน เมื่อทำการไพโรไลซิสของผสมระหว่างพลาสติกและตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟพบว่า ตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟมีหน้าที่ในการดูดซับพลังงานจากคลื่นซึ่งจะอยู่ในรูปความร้อน แล้วส่งถ่ายความร้อนให้แก่พลาสติกด้วยกระบวนการนำความร้อน ส่วนพลาสติกมีหน้าที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักซึ่งได้จากการสลายตัว ดังนั้นชนิดและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟจึงมีความสำคัญอย่างมาก ถ่านเป็นตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟที่ดีและส่งผลให้เกิดก๊าซผลิตภัณฑ์ในปริมาณมากเมื่อทำการไพโรไลซิสกับพลาสติก เช่นเดียวกันโครงสร้างและขนาดของพลาสติกก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน PP ถูกไพโรไลซิสได้ช้ากว่า PE แต่สามารถให้มีเทนได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนระหว่างตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟและพลาสติกให้ผลกระทบที่ซับซ้อน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการไพโรไลซิสโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวให้ความร้อนเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการจัดการขยะพลาสติก ไม่เพียงเท่านั้น กระบวนการนี้ยังนำมาซึ่งเชื้อเพลงที่มีคุณค่า |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2549-2550 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การกำจัดขยะ - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
ขยะพลาสติก - - การเผาไหม้ - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
th_TH |
dc.title |
การกำจัดขยะพลาสติกด้วยวิธีการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงแบบไม่ใช้ออกซิเจนโดยมีคลื่นไมโครเวฟช่วยในการให้ความร้อน |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2550 |
|
dc.description.abstractalternative |
The research investigated an environmental friendly and clean technology for plastic waste management that can be employed as an alternative method to incineration which causes severe pollution to surroundings. Pyrolysis which is the chemical decomposition of organic materials by heating in the absence of oxygen or any other reagents has been gaining interests as well as acceptance as an advanced waste treatment technology. It is not only used as a form of thermal treatment to reduce waste volumes , but also produces clean and valuable fuels as a byproduct. In this research , microwave energy was utilized as a heating source for pyrolysis due to its unique and rapid heating abilities. The microwave pyrolysis oven was set up with an online GC measurement in order to investigate the production of volatile products in-situ. Different experimental parameters were studied including polymer molecular structures, types of microwave absorbers, plastics and absorbers size, composition ratio between plastic and absorbers, heating power, and pyrolysis time. In general, it was observed that methane emerged during the initial stage of pyrolysis and reached maximum amount between 10-20 minutes. However, its levels decreased with time and conversely, As the microwave power is enhanced, the depolymerisation is fasten and a lasger amount of product gases is obtained. Plastics by themselves cannot be pyrolised using microwave heating due to their poor microwave absorbance characteristics. However, pyrolysis of sawdust, rice husks,and charcoal results in hydrocarbon gases (C1-C4) of different quantities. It was found that the sawdust produces the highest amount of hydrocarbons followed by the rice husks and then charcoal which was consistent with TGA results. When plastics were mixed with microwave absorbers, it was discovered that the role of the absorbers was was to couple with the microwave energy thus resulting in heating of the absorber which consequently was transferred to plastics under the conduction mechanism and then results in hydrocarbons formation. Therefore it can be concluded that types of absorbers as well as their surface area plays an important role in the process. Charcoal has proven to be the suitable microwave absorber. Similarly, polymer structure and its size are also imperative parameters as they affect the heat conduction mechanism. The decomposition of PP takes longer than that of PE, but the amount of produced gases is higher. The study revealed that the effect of absorber to plastic ratio is complicated. The research undertaken shows the potential of microwave pyrolysis as an effective technique for plastic waste management as well as the ability to convert waste materials into energy sources. |
en |