Abstract:
การวิจัยเรื่อง การทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยแบบถ่ายเสียงจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความนิยมเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบของคำศัพท์ และวิธีการทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเอกสารภาษาจีน และเพื่อศึกษาหลักการถ่ายเสียงหน่วยพยางค์ภาษาไทยเป็นภาษาจีน ตามหลักวิชาภาษาศาสตร์ โดยศึกษาข้อมูลชื่อ-สกุลคนไทยจากเอกสารภาษาจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวน 939 ราย ชื่อ การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวภาษาศาสตร์ โดยวิเคราะห์หน่วยพยางค์เสียงในชื่อ-สกุลคนไทย ในระดับเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงตัวสะกด ผลการวิจัยพบว่า
1. ความนิยมเกี่ยวกับการทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยในเอกสารภาษาจีน มีลักษณะดังนี้
คำทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยในเอกสารภาษาจีน มีรูปแบบการถ่ายเสียงตามการใช้ในภาษาไทย เช่น มีลำดับการเรียงชื่อ-สกุลตามรูปแบบภาษาไทย โดยนำด้วยคำบอกชื่อบุคคลและตามด้วยคำบอกนามสกุลและมีเครื่องหมาย . คั่นกลางระหว่างคำบอกชื่อและนามสกุล การทับศัพท์เฉพาะชื่อบุคคล การทับศัพทืชื่อจริงและชื่อเล่นควบคู่กัน
วิธีการทับศัพท์ถ่ายเสียงชื่อ-สกุลคนไทย มีวิธีการดังนี้ คือ การถ่ายเสียงโดยการเทียบเสียงจากพยางค์เสียงภาษาไทยไปเป็นภาษาจีนโดยตรงแบบพยางค์ต่อพยางค์ การถ่ายเสียงแบบแยกพยางค์เสียง การถ่ายเสียงแบบลดเสียง และการถ่ายเสียงแบบการเปลี่ยนเสียง เป็นต้น
2. หลักการถ่ายเสียงพยางค์ชื่อ-สกุลคนไทยจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน
2.1 การถ่ายเสียงพยัญชนะในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน มีดังนี้ คือ
1) การถ่ายเสียงด้วยการเทียบเสียงพยัญชนะจากกลุ่มฐานเสียงภาษาไทยที่ใกล้เคียงกับภาษาจีน เช่นก /g/กับ g ข, ค /k/กับ k จ /c/กับz zh j ฉ ช ฌ/ch/กับ c,ch,q ซ ส ศ ษ /s / กับ s,sh, x ญ ย /j /กับ r ฎ ด /d/กับ d ถ ท ฑ ฒ ธ ฐ /th/กับ t น ณ /n/กับ n ป /p/กับ b พ ผ ภ/ph/กับ p ฝ ฟ /f/กับ f ม /m/กับ m ร /r/กับ l ล /l/ กับ l ว /w/กับ w ห ฮ /h/ กับ h
2) การถ่ายเสียงโดยการเปลี่ยนเสียง เช่น การเปลี่ยนเสียงในกลุ่มฐานเสียงเดียวกันหรือกลุ่มฐานเสียงที่มีการออกเสียงใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มเสียงปุ่มเหงือก d t n l (“ริต” เป็น (di) ) กลุ่มโคนลิ้น g h (“คำ” เป็น(gan) ) กลุ่มริมฝีปาก b p (“พิ” เป็น(bi) ) กลุ่มเสียงเสียดแทรก j q x zh ch s (“เชี่ยว” เป็น(xia) ) เป็นต้น
3) การถ่ายเสียงโดยการลดพยางค์ในคำที่ไม่ปะวิสัญชนี เช่น “จันทรศิริ” (zhanxili) คำว่า จันทร มีการลดพยางค์เป็นพยางค์เดียวเป็น (zhan)
4) การถ่ายเสียงพยัญชนะควบในภาษาไทย ทำได้โดยการเทียบเสียงอักษรตัวแรกในพยัญชนะควบ เช่น “ปลา” เป็น (ba) “ปลอด” เป็น (bu) , (bo)
5) การถ่ายเสียงพยัญชนะควบในภาษาไทย อาจทำได้โดยการแยกพยางค์ในเสียงพยัญชนะควบเป็นสองหน่วยเสียง เช่น “ประ” เป็น (ba la) “ขลา” เป็น (ka la)
2.2 การถ่ายเสียงสระในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน
1) โดยทั่วไปการถ่ายเสียงพยางค์ในระดับสระ จะอ้างอิงเสียงพยัญชนะเป็นหลัก แล้วจึงพิจารณาเสียงสระเป็นอันดับต่อมา หากเสียงพยัญชนะไม่สามารถประสมกับสระที่ต้องการได้ ก็จะอาศัยวิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ หรือเปลี่ยนเสียงสระ เพื่อให้การถ่ายสียงได้ตรงกับภาษาในต้นฉบับมากที่สุด
2) การถ่ายเสียงโดยการเทียบเสียงสระที่ออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาจีน เช่น อะ อา เป็น a อิ อี เป็น i อุ อู เป็น u เอีย เป็น ie ออ เป็น o โอ เป็น o เอา เป็น ao เออ เป็น e ไอ เป็น ai
3) การถ่ายเสียงสระที่ไม่สามารถเทียบเสียงโดยตรงกับภาษาจีน เช่น อึ อือ โอะ เอะ เอ เอะ แอะ แอ เอือะ เอือ อำ ทำได้โดยการเปลี่ยนเป็นเสียงสระที่มีฐานเสียงใกล้เคียงกัน เช่น “พัว” เป็น (po) สระห่อปาก สระอัว เปลี่ยนเป็น o “เส” เป็น (she) สระไม่ห่อปาก สระเอ เปลี่ยนเป็น e
4) ในกรณีที่เสียงสระในภาษาไทยและภาษาจีนตรงกัน แต่การประสมเสียงกับพยัญชนะไม่สอดคล้องกัน การถ่ายเสียงจึงต้องมีการเปลี่ยนเสียงสระให้สอดคล้องกับการประสมเสียงกับพยัญชนะ เช่น “โร” เป็น (luo) เสียงพยัญชนะ l ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ uo “ห่อ” เป็น (huo) เสียงพยัญชนะ h ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ uo “ก่อ” เป็น (gu) เสียงพยัญชนะ g ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับเสียงสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ u เป็นต้น
5) การถ่ายเสียงสระประสมที่ไม่ปรากฏมีในภาษาจีนและมีตัวสะกด ทำได้โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสระเดี่ยวหรือสระประสมที่มีเสียงใกล้เคียงกับภาษาจีน และตัดเสียงตัวสะกด เช่น “เรือง” เป็น (le) “เมตต์” เป็น (mo) “เทพ” เป็น (tie) “กอบ” เป็น (guo) “ศึก” เป็น (ke) เป็นต้น
6) การถ่ายเสียงพยางค์ที่เสียงสระประสมและเสียงตัวสะกด ทำได้โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสระเสียงนาสิกในภาษาจีน เช่น “แสง” เป็น (sheng) “เมือง” เป็น (meng) “กร” เป็น (gong)
7) ในกรณีที่พยัญชนะไทยไม่ปรากฏมีในระบบภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจอ้างอิงเสียงสระที่ใกล้เคียงกันกับเสียงสระในภาษาจีน และลดเสียงพยัญชนะ เช่น “บุญ” เป็น (wen) “บรร” เป็น (wan)
8) การถ่ายเสียงอาจทำได้โดยการแยกพยางค์ในเสียงพยัญชนะกับสระภาษาไทย ตามการประสมเสียงในภาษาไทย เช่น “ตฤณ” เป็น (dilin) แยกเสียงเป็น (di) + (lin) “สวน” เป็น (suwan) แยกเป็นเสียง (su) + (wan)
2.3 การถ่ายเสียงตัวสะกดในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน
1) การถ่ายเสียงตัวสะกดในภาษาไทยที่ตรงกับภาษาจีน เช่นเสียงตัวสะกด น กับ ง ในที่นี้คือสระเสียงนาสิกที่ลงท้ายด้วย n และ ng ในภาษาจีน เช่น “กัล” เป็น (gan) “ทวน” เป็น (duan) “เสียง” เป็น (xiang) เป้นต้น
2) การถ่ายเสียงตัวสะกดในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาจีน เช่น ก ด บ ม เป็นต้น ในการถ่ายเสียงเป็นภาษาจีน ทำได้โดยการเปลี่ยเสียงเป้นสระเสียงนาสิกที่ลงท้ายด้วย n และ ng เช่น “จักร” เป็น (zhan) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ก เป็น n “เปรม” เป็น (bing) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ม เป็น ng และ “พัทธ์” เป็น (pan) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ด เป็น n
3) ในกรณีที่ตัวสะกดดังกล่าวไม่มีในภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจจะถ่ายเสียงพยัญชนะเป็นสระเป็นหลัก และลดเสียงตัวสะกด เช่น “ธรรม” เป็น (tang ma) “ลิ่ม” เป็น (li mu) “เขม” เป็น (ka man)
4) ในกรณีที่ตัวสะกดดังกล่าวไม่มีในภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจจะถ่ายเสียงเฉพาะเสียงพยัญชนะและสระเป็นหลัก และลดเสียงตัวสะกด เช่นคำว่า “เรศ” เป็น (lei) “รท” เป็น (la)
5) การเปลี่ยนตัวสะกดต้องอ้างอิงเสียงพยัญชนะและการประสมสระเป็นหลัก เช่น “คราม” เป็น (kan) โดยมีการถ่ายเสียงพยัญชนะ ค เป็น k ถ่ายเสียงสระอาเป็นสระ an และเปลี่ยนเสียงตัวสะกด ม มาเป็นตัวสะกด n