dc.contributor.author |
จุฑามาศ แหนจอน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:08:40Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:08:40Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1767 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสบอิทธิพลของการเพ่งความสนใจที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตปริญญาตรี และตรวจสอบอิทธิพลของเพศต่อโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการเพ่งความสนใจ สมรรถนะทางอารมณ์ และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได่แก่ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนต้น จำนวน 385 คน (ชาย 194 คน หญิง 191 คน) ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ฉบับ คือ 1) แบบวัดการเพ่งความสนใจ การตระหนักรู้และการตั้งใจ 2) แบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ และ 3) แบบวัดความผาสุกเชิงจิตวิทยา ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 8-30 เมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลวิจัยพบว่า
1.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดสมรรถนะทางอารมณ์ มีวามสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 2.24, df =2, x2 /df =1.12, p =0.326, GFI =.997, AGFI =0.985, RMSEA =0.018, SRMR =0.011, NNFI =0.999, CFI =1.00)
2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดความผาสุขมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 3.843, df =2, x2 /df =0.768, p =0.572, GFI =.997, AGFI =0.986, RMSEA =0.000, SRMR =0.011, NNFI =1.000, CFI =1.00)
3. การเพ่งความสนใจมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
4. การเพ่งความสนใจมีอิทธิพลทางตรงต่อความผาสุขของนิสิตระดับปริญญาตรี (p< .05)
5. สมรรถนะทางอารมณ์มีอิทธฺพลทางตรงต่อความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< .05) และความผาสุขของนิสิตระดับปริญญาตรีได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านสมรรถนะทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
6. การเพ่งความสนใจไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมรรถนะทางอารมณ์ โดยมีค่า Standard coefficient เท่ากับ 01.119 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) แสดงว่า การเพ่งความสนเหมาะที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลาง มากกว่าที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแปรกำกับระหว่างสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี
7. เพศไม่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการเพ่งความสนใจสมรรถนะทางอารมณ์ และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2558 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความผาสุก |
th_TH |
dc.subject |
สมรรถนะทางอารมณ์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
อิทธิพลของการเพ่งความสนใจต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
The effects of mindfulness on emotional competencies and well-being of undergraduate students |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this study were to examine the effects of mindfulness on emotional competencies and well-being of undergraduate students and examine the effects of gender on the causal relationship beteween mindfulness ,emotional competencies and well-being of undergraduate students. The sample consisted of 385 (194 males & 191 femals) undergraduate students, who studied in year 1 to 4, in the first semester of academic year 2015. The sample was selected by employed a multi-stage random sampling procedure, who volunteer and willing to participate in the research project. The 3 research insruments were the Mindful awareness attention scale, the Assessing emotion scale, and the Scale of psychological well-being. The data was statistically analyzed by utilizing the Linear Structural Equation Modeling (SEM). The results revealed as follows:
1. The confirmatory factor analysis of the measure model of emotional competencies fitted
(Chi-square = 2.24, df =2, x2 /df =1.12, p =0.326, GFI =.997, AGFI =0.985, RMSEA =0.018, SRMR =0.011, NNFI =0.999, CFI =1.00)
2. The confirmatory factor analysis of the measure model of well-being fitted with the
empirical data (Chi-square = 3.843, df =2, x2 /df =0.768, p =0.572, GFI =.997, AGFI =0.986, RMSEA =0.000, SRMR =0.011, NNFI =1.000, CFI =1.00)
3. Mindfulness directly effected on emotional competencies of undergraduate students
statistically significant (p< .05)
4. Mindfulness directly effected on well-being of undergraduate students
statistically significant (p< .05)
5. Emotional competencies directly effected on well-being of undergraduate students
statistically significant (p< .05) and the well-being of undergraduate students was indirectly effected through emotional competencies statistically significant (p< .05)
6. Mindfulness had interaction with emotional competencies on statistically significant
(Standard coefficient = 0.119) lf demonstrated that mindfulness was appropriately to be a mediation variable more than a moderator variable between emotional competencies and well-being of undergraduate students.
7. Gender had no effect on the causal relationship beteween mindfulness, emotional competencies and well-being of undergraduate students (p> .05) |
en |