DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.author เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1751
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตาม ศูนย์การศึกษาที่เลือกเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 259 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบว่าแตกต่างกันเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านประเมินสัมฤทธิของหลักสูตร ด้านสภาพการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านองค์ประกอบเบื้องต้นของหลักสูตร 1.1 ด้านองค์ประกอบเบื้องต้นของหลักสูตร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามอันดับคือ ด้านโครงสร้าง และเนื้อหาวิชา ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการหลักสูตร 1.2 ด้านสภาพการนำหลักสูตรไปใช้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา และการบริหารหลักสูตร 1.3 ด้านประเมินผลสัมฤทธิผลของหลักสูตร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ คุณลักษณะของมหาบัณฑิต ทักษะการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตและระดับผลการเรียน 2. การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามศูนย์การศึกษาที่เลือกเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 th_TH
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมินหลักสูตร th_TH
dc.subject หลักสูตร th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purposes of the study were to investigate and compare the evaluation of master's degree curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University as classified by learnning center. The samples consisted of 259 students of Innovative Administration and educational leadership center, using stratified random sampling with the sampling stratas of learning center. The instrument used for the study was a rating scale questionnaire. Statistics uses for analyzing the data were mean, standard deviation, One-way ANOVA, LSD (Least Significant Difference). The findings were as follows: 1. The evaluation of master's degree curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University were rated of total and each aspects at a high level, which three priority from the highest mean score were the results of evaluation, the curriculum implementation, and the basic factors of curriculum. 1.1 The basic factors of curriculum by total and each aspects were rated at a high level, three priority from the highest mean score were the structure and subject content, the curriculum objectives, and the resources of curriculum. 1.2 The curricilum implementation by total and each aspects were rated at a high level, three priority from the highest mean score were the teaching and learning activities, the measurement and evaluation, and the curriculum administration. 1.3 The results of curriculum by total and each aspects were rated at a high level, three priority from the highest mean score were the characteristies of students, working skills of students and the learning achievement level. 2. The evaluation of mater' s degree curriculum in educational administration (Revised B.E. 2554), Burapha University as classified by learning center, by total and each aspects were significantly difference (p>.05) en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account