Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างชุดตรวจวัด ครีอะตินินและอัลบูมินบนกระดาษที่พัฒนาขึ้น เปรียบเทียบประสิทธิการวิเคราะห์และแปลผลของค่า UACR กับเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติที่ใช้ในโรงพยาบาบาลตามวิธีมาตรฐาน ประเมินประสิทธิภาพและทวนสอบผลของการทดสอบในตัวอย่างสิ่งส่งตรวจปัสสาวะแปลผลผ่านโปรแกรมคำนวณเพื่อเปรียบเทียบการแปลผลและความเป็นไปได้ในการนำงานจริงเพื่อประเมินนำมาใช้กลุ่มเสี่ยงโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน
ผลการวิจัยพบว่า ชุดทดสอบตรวจวัดแบบกระดาษที่พัฒนาขึ้นสามารถวิเคราะห์ระดับครีอะตินิน ได้ระยะเวลา 40 นาที ให้ช่วงความเป็นเส้นตรงที่ช่วงความเข้มข้น 100-1000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนการหาขีดจำกัดการตรวจวัด (LOD) อยู่ที่ความเข้มข้น 1.25 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และขีดจำกัดการหาปริมาณ (LOQ) คือ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เมื่อทดสอบตัวอย่างปัสสาวะพบว่า ให้ความถูกต้อง (% Accuracy) ที่ 98.81% ผลการทดสอบตรวจวัดสามารถวิเคราะห์อัลบูมินอุปกรณ์นี้มีความเที่ยงสูง สามารถทำซ้ำได้ LOD เท่ากับ 1.26 g/dL และ LOQ เท่ากับ 2.18 g/dL ส่วนการทดสอบการในการลงตัวอย่างซีรัมมาตรฐาน Control normal ให้ความถูกต้อง (?curacy) ที่ 96.45% วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนของครีอะตินินกับอัลบูมินในปัสสาวะที่ได้จากชุดทดสอบอัลบูมิน-ครีอะตินินพบว่า ค่า UACR ที่คำนวณได้จากการอ่านด้วยตาเปล่าจากชุดทดสอบสอดคล้องกันกับค่า UACR ที่ได้จากเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติเป็นเส้นตรง (r = 0.31, p < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า ชุดตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างจากการคิดคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ ผลการทดสสอบประสิทธิภาพและทวนสอบผลในการทดสอบในสิ่งส่งตรวจปัสสาวะ ชุดตรวจวัดปริมาณครีอะตินินและอัลบูมินแบบกระดาที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงกึ่งปริมาณจากการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มสี เพื่อบอกระดับครีอะตินินและโปรตีนอัลบูมินที่พบในเลือดและปัสสาวะ ซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองและให้ผลภายใน 15-30 นาที ให้ผลที่รวดเร็ว อ่านและแปลผลได้ง่ายจากการเทียบสีบอกระดับได้ ซึ่งชุดตรวจนี้สามารถใช้ตรวจทั้งครีอะนินไปพร้อมกับระดับโปรตีนอัลบูมินจากการใช้ตัวอย่างปัสสาวะที่ได้ผ่านการใช้โปรแกรมคำนวณตามที่กำหนด ในการนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนผิดปกติทางไต ในผู้ป่วยโรคไตระยะแรกเริ่มทั้งในกลุ่มคนปกติและกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก ที่ให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ