DSpace Repository

หาดวอนนภา: ชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนชายทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1746
dc.description.abstract บทความวิจัยนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอผลการวิจัยเรื่องหาดวอนนภา : ชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนชายทะเล โดยใช้กระบวนการศิลปะการละครเพื่อการเรียนรู้มาเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย ได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ ๒ ข้อ คือเพื่อวิเคราะห์ถึงคการดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนของชุมชนหาดวอนนภา และเพื่อการศึกษา “ชีวิตวัฒนธรรม”ของชุมชนหาดวอนนภา เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบไปด้วยแกนนำชุมชนหาดวอนนภาและบุคคลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลแบบการตีความข้อมูล(Content Analysis) และป้อนข้อมูลคืนสู่ชุมชนด้วยการแสดงละคร เรื่อง เรื่องเล่าจากยายวอน...นภา ผลการวิจัยพบว่าการดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนพื้นที่ของชุมชนหาดวอนนภา มาจากทิศทางการพัฒน่ชุมชนที่กำเนิดโดยคนนอกชุมชน แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard Development Plan) และนโยบายด้านการท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรมบริโภค ส่งผลให้ความรู้ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของคนในชุมชนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิเวศและภูมิสังคม ความเชื่อท่เคยเชื่อว่า “หน้าบ้านเราคือแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิต” เลือนหายไปเพราะหน้าบ้านเริ่มเปลี่ยนไปทรัพยากรทางทะเลเริ่มลดลง ทั้งมีนโยบายต่างๆ ทำให้เกิดการปรับพื้นที่เป็นสถานตากอากาศบริเวณหาดบางแสนส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชายทะเลปรับเปลี่ยนชีวิตชุมชนและอาชีพทางทะเล แต่ยังปรากฏรูปแบบ “ชีวิตวัฒนธรรม” ที่มีลักษณะของชุมชนชายทะเลยังดำรงวิถีประมง ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล ออกเรือหาปลา มีประเพณี ความเชื่อเรื่องศาลเจ้าและเรือ มีภูมิปัญยาท้องถิ่นอาหารทะเลพื้นบ้าน และชุมชนมีตลาดนัดที่สำคัญเป็นแหล่งวัตถุดิบทางทะเลและผักพื้นบ้าน ข้อเสนอแนะและแนวทางสำหรับการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ ชุมชนหาดวอนนภามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นชุมชนชายทะเลและผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศเพราะมีต้นทุนเกี่ยวพื้นที่และรูปแบบชีวิตวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ทั้งนี้ควรสร้างการมีส่วนร่วมเป็นชุมชนที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเทศบาลเมืองแสนสุขที่ระบุไว้ “มุ่งสร้างชุมชนในเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่ ควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มีแหล่งท่องเที่ยงที่สะอาดสวยงามเป็นที่รู้จักระดับสากล พัฒนาเศรษฐกิจสังคม ให้เจริญรุ่งเรืองเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตลอดไป” th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ชุมชนชายทะเล th_TH
dc.subject วัฒนธรรม th_TH
dc.subject หาดวอนนภา th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title หาดวอนนภา: ชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนชายทะเล th_TH
dc.title.alternative Won Napa beach: Cultural life of beach community en
dc.type Research
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative This research paper was to present Won Napa Beach: Culture life of Beach Community using the process of Dramatic Arts as a tool for Learning. The objectives were to analyze both existence and modification of Von Napa Beach community and to study "Living culture" of Won Napa Beach community collecting the information from community leader and guests and also input the information back into community with a dramatic story told from Yai Won Napa. The results are found that the existence and modification of Won Napa Beach community were developed by outsiders, Easterm Seaboard Development Plan, and Tourism Consumer Culture Policy. As a result, the knowledge, ideas, beliefs and values of the community were changed; for instance, our front yard was the best food source to feed our life but it disappeared because the front yard began to change and also marine resource began to decline. The adjustment policies of coastal Bang Saen area were developed to build resorts. Thus community life and marine career were changed but still appeared in the cultural life format such as sailing and fishing, belief of shrine and boats, local wisdom and local seafod, and flea market a major source of raw marine materials and vegetable. According to a fascinating living spaces and cultural life, Won Napa Beach community has the potential to develop a seaside community and encourage tourism and ecology. However. to engage self-management of the community and to encourage the learning process for people in the community conform to the development direction of Saensuk municipality "livable city with natural resources and sustainable environment. being intermational clean tourist attraction level, and economic prosperity for social well-being" en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account