DSpace Repository

วัฒนธรรมจีนที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author บุญเดิม พันรอบ
dc.date.accessioned 2024-10-25T08:59:56Z
dc.date.available 2024-10-25T08:59:56Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17351
dc.description.abstract การวิจัยเพื่อศึกษาวัฒนธรรมจีนที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว เพื่อศึกษาแนวความคิด ความสำคัญของวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนประเภทสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาษาและวรรณกรรมที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออกสำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก ศาลเจ้าจำนวน 51 แห่งเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสำรวจและสัมภาษณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณาธิบายตามแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชุมชนเมืองท่าชายทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นชุมชนเก่าของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญ 5 แห่งที่ชลบุรี-บางปลาสร้อย ฉะเชิงเทรา-แปดริ้ว ระยอง จันทบุรีและตราด ชาวจีนจากแผ่นดินแม่ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านจิตใจที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน ศาสนาเต๋า ลัทธิขงจื้อ กำหนดการออกแบบภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านวัตถุให้กับชาวจีนผู้อพยพอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างอาคารสถาปัตยกรรมศาลเจ้าจำนวน 10 ศาลเจ้าจากหลักฐานด้านประวัติการก่อตั้งศาลเจ้า ประติมากรรมจำนวน 8 ประเภทแสดงให้เห็นความเชื่อตามแนวศาสนาพุทธมหายาน ศาสนาเต๋า และลัทธิขงจื้อ รวมทั้งความเชื่อตามตำนานเรื่องเล่าและตำนานประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของชาวไทยเชื้อสายจีนที่นำติดตัวอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย วรรณกรรมจำนวน 11 วรรณกรรมแสดงให้เห็นวรรณกรรมเกี่ยวกับความเชื่อตามแนวศาสนาพุทธมหายาน ศาสนาเต๋า ความเชื่อตามตำนานเรื่องเล่าแบบพื้นบ้านและตำนานประวัติศาสตร์ของจีน ภาษาและวรรณกรรมที่ศาลเจ้าจารึกและเขียนไว้ที่ระฆังบอกถึงคัมภีร์ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ผู้อุทิศ ปีที่สร้างระฆัง โคลงจารึกที่เสา ป้ายทองเหลือง ป้ายเทพเจ้า ป้ายบอกชื่อศาลและอธิบายเรื่องราววรรณกรรม เป็นต้น การวิจัยได้นำเสนอแนวความคิดเพื่อการอนุรักษ์อาคารสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และวรรณกรรม รวมทั้งนำเสนอแนวทางการบริหารงานศาลเจ้าแบบใหม่ในรูปของพิพิธภัณฑ์ การจัดการแบบกวานซี่หรือเครือข่ายทางสังคม การให้ชุมชนมีส่วนร่วม การปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการท่องเที่ยวเป็นต้น th_TH
dc.description.sponsorship โดยได้รับทุนสนับสนุนการผลิต ผลงานสร้างสรรค์ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2556 จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ชาวจีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี th_TH
dc.subject ศาลเจ้า th_TH
dc.subject สถาปัตยกรรมศาสนา th_TH
dc.title วัฒนธรรมจีนที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The Chinese Culture at Shrine in Eastern Area th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2546 th_TH
dc.description.abstractalternative The study of The Chinese Culture at Shrine in Eastern Area aims to study the Chinese –Thais ’ Ideology influence to art at shrine such as , architecture, sculpture ,painting Prachin Buri literature and language for the tourism learning source. The 51 purposive shrines are the sample by survey and deep interview in Chon Buri, Chachoengsao, Rayong, Chanthaburi, Trat, Nakhon Nayok Prachin Buri and Sa Kaeo. The qualitative study analyze and present with descriptive technique. The study results are the following: The 5 old main coastal ports of Chinese-Thais communities are Chon Buri-Bangplasaoi, Chachoengsao-Padrew, Rayong, Chanthaburi, and Trat, the mainland Chinese ’ ideology in Mahayana-Buddhism ,Taoism, and Confuciusm influence to Chinese –Thais ’ ideology about the art at shrine in Eastern Area of Thailand . The 10 shrine samples architectures discover the written history and the foundations of the shrine in the eastern areas. The 8 sculpture samples reveal the beliefs about Mahayana-Buddhism , Taoism, Confuciusm , the Chinese legend ,and the Chinese in historical god. The 11 painting samples are about Mahayana-Buddhism , Taoism, the Chinese legend ,and the Chinese in historical god. The literature and language reveal Mahayana-Buddhism scriptures , the donators and the foundation on the bell, the Chinese poem language on the column ,the label of the shrine name , the god’ name, and the literature stories. The research presents the ideas support the conservation about the architectures , the sculpture and literature and also present the new shrines’ administration in the pattern of museum, the quanxi-social network, the community participation ,and the landscape architecture for learning resource in tourism. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account