DSpace Repository

ขบวนการกลายเป็นเมืองของเขตเทศบาลเมืองชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author บุญเดิม พันรอบ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน
dc.date.accessioned 2024-10-17T03:13:59Z
dc.date.available 2024-10-17T03:13:59Z
dc.date.issued 2528
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17345
dc.description.abstract การศึกษาขบวนการกลายเป็นเมืองของเขตเทศบาลเมืองชลบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดินของภาครัฐบาลและเอกชนในระยะต่าง ๆ ศึกษาปัจจัยสาเหตุอันทำให้เกิดวิวัฒนาการของเมืองตลอดจนแนวโน้มพัฒนาการของเมือง ขอบเขตการศึกษาจำกัดเฉพาะภายในพื้นที่เขตเเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4.75 ตารางกิโลเมตร การศึกษาใช้ข้อมูล 2 ประเภทคือ 1. ข้อมูลชั้นหนึ่งจากการสังเหตการณ์ภาคสนาม 2. ข้อมูลชั้นสองจากเอกสารและการสัมภาษณ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้คือ 1. การใช้ที่ดินระยะแรกก่อนปี พ.ศ. 2457 เมืองชลบุรีเป็นชุมชนเล็กประกอบไปด้วยการใช้ที่ดิน 5 ประเภท คือ การใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินสำหรับเขตค้าปลีกและค้าส่ง การใช้ที่ดินสำหรับเขตพักการขนส่ง การใช้ที่ดินสำหรับภาครัฐบาลและการใช้ที่ดินสำหรับศูนย์กลางศาสนา 2. การใช้ที่ดินระยะที่่สองก่อนปี พ.ศ. 2493 การใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยเขตค้าปลีกและค้าส่งมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในขณะที่การใช้ที่ดินสำหรับภาครัฐบาลมีการขยายตัวช้าลง แม้ว่าจะมีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้นก็ตาม ส่วนการใช้ที่ดินสำหรับเขตพักการขนส่งหมดไป เนื่องจากรัฐบาลได้จัดให้มีการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ขึ้นแทนที่การขนส่งทางน้ำ 3. การใช้ที่ดินในเขตเมืองชลบุรีปัจจุบันมีการใช้ที่ดินทั้งสิ้น 5,626 หน่วย ความหนาแน่น 1,184.6 หน่วยต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร เขตธุรกิจเก่ามีการใช้ที่ดินหนาแน่นสูงที่สุด เขตธุรกิจใหม่มีการใช้ที่ดินจำนวนหน่วยสุงที่สุด มีการแบ่งแยกเขตการใช้ที่ดินแน่ชัดระหว่างการใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย การค้าการพาณิชย์และเขตอุตสาหกรรม สามารถสรุปได้ว่า เมืองชลบุรีพัฒนามาจากชุมชนหนาแน่น (Eoholis) เป็นเมืองเล็ก (Polis) มีการใช้ที่ดินแบบเมืองที่มีหลายจุดศูนย์กลาง (Multiple nuchi) ปัจจัยสาเหตุการขยายตัวเป็นเมืองมีหลายประการคือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนระบบการขนส่ง (Break in transportation) ปัจจัยเกี่ยวกับการคมนาคมทางบกและนโยบายของรัฐบาล th_TH
dc.description.sponsorship สภาวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน th_TH
dc.subject เทศบาลเมืองชลบุรั th_TH
dc.subject ชลบุรี - - ประวัติศาสตร์ th_TH
dc.subject ชลบุรี - - การพัฒนาชุมชน
dc.title ขบวนการกลายเป็นเมืองของเขตเทศบาลเมืองชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The urbanization of Chonburi Municipal Area th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2528 th_TH
dc.description.abstractalternative The study of the urbanization of Chonburi Municipal area was to compare the form of the land usage between private and government sector in variety periods. To study the factors that caused Municipal evolution and the trend of development. The area of the study was defined only in Chonburi Municipal about 4.75 square kilometers. Not only the field observation and interviewed the eye-witnesses but also some secondary data were used in this study. This is the findings 1. Before 1914 Chonburi was the main community with land used components. That was.- 1.1 Residential area 1.2 Retail and wholesale area 1.3 Break in Transportation 1.4 Government sector 1.5 Religious area 2. Before 1950 found that it had increased for residential area and retail and wholesale area. The government sector had slowly increased even if the municipal had established. The government had improved transportation by cars that got rid break in transportation by boats. 3. Nowadays, Chonburi has used the land for about 5}626 units. The density is 1}184.6 units per square kilometers. The most density is the old business area. The greatest number of units of the land used is new business area. It is obviously separated among, residential area, commercial area and industrial area. Chonburi has developed from epulis to polis. It is multiple mclei city. The factors that caused urbanization were geographical factor, the break in transportation, communication, and government policy. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account