Abstract:
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบผลของความเค็มที่ต่างกัน 3 ระดับ (28, 30, 32 ppt) และการเก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตหนึ่งครั้ง (วันที่ 30 สิ้นสุดการทดลอง) และสองครั้ง (ครึ่งหนึ่งวันที่ 12 และ วันที่ 30 สิ้นสุดการทดลอง) ต่อการเพิ่มจจำนวน และองค์ประกอบของโคพีพอดในธรรมชาติ โดยการให้อาหาร (รำหมัก) เป็นอาหารครั้งเดียวเมื่อเริ่มทดลองที่ความเข้มข้น 150 ppm วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial design) ที่ความจุน้ำ 10 ลิตร ทั้งหมด 18 ใบ เป็นเวลา 30 วัน ผลการทดลองพบว่าโคพีพอดมีการตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนโคพีพอดในช่วงแรกก่อนลดจำนวนลงในแนวทางเดียวกัน ที่ความเค็ม 28 ppt ทั้งชุดการทดลองที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 1 ครั้งและ 2 ครั้ง ในวันที่ 2 พบความหนาแน่นของโคพีพอดมีค่าสูงสุด (ค่าเฉลี่ย±SE) 3.1±0.3 ตัว/ มล.
และ 2.8 ±0.3 ตัว/ มล. ก่อนความหนาแน่นกลับเพิ่ม สูงขึ้น ในวันที่ 10 มีค่าเฉลี่ย (±SE) 2.8±0.4 ตัว/ มล. และ 1.0 ±0.2 ตัว/ มล. ตามลำดับ แตกต่าง (p<0.01) จากโคพีพอดที่เลี้ยงด้วยความเค็ม 30 ppt และ 32 ppt พบว่าความหนาแน่นของโคพีพอดเพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ย±SE) 1.3±0.1 ตัว/ มล. และ 0.9-0.1 ตัว/ มล. ในช่วงวันที่ 12-14 ก่อนมีการลดลงในแนวทางเดียวกัน สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตพบว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตครึ่งหนึ่ง ในวันที่ 12 ไม่ทำให้ความหนาแน่นของโคพีพอดลดลงเมื่อสิ้นสุดการทดลอง โดยกลุ่มชนิดของโคพีพอดที่พบมากที่สุดคือ คาลานอยล์ ไซโคลพอยด์ ฮาร์แพคทิคอยด์ (ร้ อยละ 59.1±0.1, 27.9, 12.5) และสัดส่วนร้อยละของระยะการเติบโตของโคพีพอดที่พบมากที่สุดคือ
นอเพลียส ตัวเต็มวัย โคพีโพดิด และตัวเต็มวัยที่มีไข่ (ร้อยละ 55.8±4.8, 24.5±3.4, 19.2±2.1, 0.5±0.2) ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่าโคพีพอดเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่ความเค็มต่ำ (28 ppt) และการเก็บเกี่ยวผลผลิต 2 ครั้ง ทำให้ผลผลิตของโคพีพอดมากขึ้น