DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรและความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต: กรณีศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.author นุสรา พีระพัฒนพงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1710
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้มหาบัณฑิต 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัรฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากร 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ จำนวน 5 คน 2. อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรฯ จำนวน 6 คน 3. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรฯ จำนวน 79 คน และ 4. ผู้ใช้บัรฑิตตามหน่วยงาน/ สถานประกอบการ จำนวน 10 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป้นประชากรที่สมัครใจให้ข้อมูล คือ 1. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ จำนวน 4 คน 2. อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรฯ จำนวน 5 คน 3. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรฯ จำนวน 50 คน และ 4. ผู้ใช้บัณฑิตตามหน่วยงาน/ สถานประกอบการ จำนวน 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 4 ชุด สำหรับกรรมการบริหารหลักสูตร, อาจารย์ผู้สอน, บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสรา้ง 1 ชุด สำหรับกรรมการบริหารหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ที่ได้จากกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และบัณฑิตในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.88, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.42) ด้านบริบท (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, = 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมเป็นลำดับแรก มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า คุณสมบัติ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของกรรมการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมลำดับแรกระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.89, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.26) ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมลำดับแรก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.51, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า จำนวนการมีงานทำมีค่าเฉลี่ยลำดับแรก ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65) ภาพรวมความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะและการปฎิบัติงานของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.25, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับแรก คือด้านทักษะควาามสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.75,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46) th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมินหลักสูตร th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินหลักสูตรและความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต: กรณีศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Curriculum evaluation and employers opinion for graduate students: A case student the M.Ed. in Educational Technology, Faculty of Education, Burapha University en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purpose of the research were 1) to evaluate the M.ed in Educational Technology curriculum, faculty of Education, Burapha University in context, input process and product by using the CIPP model. The data were collected from the curriculum administrators, the instructors, graduate students of M.Ed. in Educational Technology and graduates' employers. The research instruments were the questionnaire and the interview from. The collect data were analyzed by using percentage, mean standard deviation and content analysis. The results of the research were as follows: 1. The evaluation of the M.Ed. in curriculum in educational technology, faculty of Education, Burapha as a whole found that the curriculum administrators, the instructors and graduates, in Educational Technology were appropriate at the high level (X= 3.88, SD = 0.42), The context evaluation found that as a whole was appropriate at the highest level. When considered in each item, the item on the purpose of the curriculum was at the highest level, The input evaluation was appropriate at the highest level (X = 4.10, SD = 0.37). When considered in each item, the attribute of the curriculum administrators was at the highest level (X = 4.89, SD =0.26). The process evaluation found that as a whole was appropriate at the highest level (X = 3.65, SD = 0.45). When considered in each item, the item on the management of the curriculum was at the hight level (X = 4.42, SD = 0.45). The product evaluation found that as a whole was appropriate at the high level (X = 3.51, SD = 0.53). When considered in each item, the item on the number of the job was at the high level (X = 3.72, SD = 0.65), and the employers of graduate students of M.Ed in Educational Technology were appropriate at the middle level (X = 3.25, SD = 0.43). When considered in each item, the item on the interpersonal relationship skills were appropriate at the high level (X= 3.75, SD = 0.46) en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account