Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้มหาบัณฑิต 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัรฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากร 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ จำนวน 5 คน 2. อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรฯ จำนวน 6 คน 3. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรฯ จำนวน 79 คน และ 4. ผู้ใช้บัรฑิตตามหน่วยงาน/ สถานประกอบการ จำนวน 10 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป้นประชากรที่สมัครใจให้ข้อมูล คือ 1. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ จำนวน 4 คน 2. อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรฯ จำนวน 5 คน 3. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรฯ จำนวน 50 คน และ 4. ผู้ใช้บัณฑิตตามหน่วยงาน/ สถานประกอบการ จำนวน 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 4 ชุด สำหรับกรรมการบริหารหลักสูตร, อาจารย์ผู้สอน, บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสรา้ง 1 ชุด สำหรับกรรมการบริหารหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ที่ได้จากกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และบัณฑิตในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.88, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.42) ด้านบริบท (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, = 0.34)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมเป็นลำดับแรก มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า คุณสมบัติ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของกรรมการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมลำดับแรกระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.89, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.26) ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมลำดับแรก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.45) ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.51, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า จำนวนการมีงานทำมีค่าเฉลี่ยลำดับแรก ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65) ภาพรวมความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะและการปฎิบัติงานของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.25, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับแรก คือด้านทักษะควาามสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.75,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46)