DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรสาขาการสอนนาฏยสังคีต ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2548

Show simple item record

dc.contributor.author ชูชาติ พิณพาทย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1709
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนนาฏยสังคีต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2548) ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในด้านบริบท (context) ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) การดำเนินการวิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คน ที่ทำการสอนในหลักสูตรที่ประเมินในระหว่างปีการศึกษา 2549-2557 จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 คน แบบสอบถาม นักศึกษาชั้นปีที่ 5 นักศึกษารุ่นนี้เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ปัจจุบันในปีการศึกษา 2557 ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ จำนวน 29 คน และศิษย์เก่า ที่เข้าการศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ปัจจุบันในปีการศึกษา 2557 สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้แล้ว จำนวน 12 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 นำเข้าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ จากผลการวิจัยพบว่า ผ่านเกณฑ์ทุกตัวแปร สำหรับตัวแปรที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นคือ ด้านกระบวนการประเด็นปัจจัยเกื้อหนุนและสิ่งสนับสนุนการศึกษา ได้แก่ ห้องปฏิบัติดนตรีเครื่องสาย ห้องเครื่องปีพาทย์ ไม่เพียงพอกับการจัดการเรียนการสอน การสรา้งบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน โดยอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กันมากขึ้น และเครื่องดนตรีเครื่องสาย เครื่องปีพาทย์ ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสอนยังไม่หลากหลาย Projector, facebook, research database, statistical package/ ขาดห้องปฏิบัติการและทฤษฎีดนตรีที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสอนที่ทันสมัย โดยเฉพาะ ICT และสื่อสังคม (Social media) ต่าง ๆ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การประเมินหลักสูตร th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินหลักสูตรสาขาการสอนนาฏยสังคีต ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2548 th_TH
dc.title.alternative Curriculum evaluation music and dance teaching department of learning management faculty of education Burapha University en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This study aimed to evaluate the curriculum of education graduate. Music and Dance Teaching Major. (revised 2005), Department of Learning Management, Faculty of Education Burapha University in the context, input, process and output. The research used interviews, 5 course instructors, 3 instructors who taught in the course which was taught during the academic year 2006-2014 total of 8 people, questionnaire and 5 th year students who attended the first semester in the academic year 2010 until the current year 2014 no graduates of this course 29 people. And alumni who studied the first semester of academic year, 2009 until the current year 2014, graduated of this course 12 people, in the course of 12 months between August 2014 and January 2015 then data were analyzed by objectives. At last the results were presented. The study found that through all the variables For variables that should be considered to better develop were procedural issues and factors conducive to support education such as musical instruments, laboratory. Gamelan workshop which was not enough just to teaching,creating a good atmosphere in the classes taught by instructors and students interact (Interaction) more and instruments; gamelan insufficient sufficient number of students, and using technology to teach was not many such as Projector, Facebook, research database, statistical package. The lack of a practical and theoretical music using technology to assist in teaching advanced by ICT and another social media (Social media) en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account