DSpace Repository

การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.

Show simple item record

dc.contributor.author เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1708
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยในประเทศไทยซึ่งทำโดยอาจารย์หรือผูัเชี่ยวชาญ และวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยบูรพา ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558 จำนวน 72 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปรายละเอียดของงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ครั้งนี้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 52 รูปแบบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบเดียว มีจำนวน 36 รูปแบบ 2) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญร่วมกันสองรูปแบบ มีจำนวน 9 รูปแบบ 3) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญร่วมกับเทคนิคการสอน มีจำนวน 6 รูปแบบ และ 4)รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญร่วมกับสื่อการสอน มีจำนวน 1 รูปแบบ 2. จากผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 52 รูปแบบ ผู้วิจัยจำแนกองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1 หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน 2) สถานการณ์ปัญหาหรือกิจกรรมที่นำมาใช้ควรสอดคล้องกับชีวิตจริงและมีความหมายกับผู้เรียน 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการค้นคว้า สำรวจ และลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อค้นหาความรู้ด้วยตนเอง 4) ส่งเสริมการทำกิจกรรมกลุ่ม และให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งกับครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียน 5) ส่งเสริมให้มีการนำความรู้ประยุกต์ใช้เพื่อความคงทนในการเรียนรู้ และ 6) มีการประเมินทั้งความรู้และทักษะกระบวนการโดยใช้การประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย 2.2 บทบาทของครู ประกอบด้วย 1) เตรียมสถานการณ์ปัญหาหรือกิจกรรมที่น่าสนใจที่นำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ 2) ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดเพื่อสร้างหรือขยายความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้อธิบาย สำรวจตรวจสอบแนวคิดของตนเองและผู้อื่น 3) ให้คำแนะนำผู้เรียนให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสาร ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง และ 4) สร้างแรงจูงใจและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในเวลาที่เหมาะสม 2.3 บทบาทของนักเรียน ประกอบด้วย 1) ลงมือปฏิบัติกิจกรรม สืบเสาะค้นหา ตั้งชื่อคาดเดา และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง 2) ตรวจสอบแนวคิดของตนเอง และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดของตนเองกับครูหรือเพื่อร่วมชั้นเรียน และ 3) สามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ และนำไปประยุกต์ใช้ได้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนในการทำวิจัยจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คณิตศาสตร์ - - การเรียนและการสอน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. th_TH
dc.title.alternative The synthesis of instructional model research in Mathematics focusing on student-centered approach en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The present study was conducted with the aim at synthesizing mathematics research studies regarding student-centered instructional models. The corpus of the study was comprised of 72 studies in various froms i.e. research studies pursued by university lecturers and experts as well as graduate's theses submitted to Chulalongkorn University and Burapha University. All of the research in the corpus were relevant to mathematics instructional models with the focus on student-centered approach and were written during the year 2005-2015. The research instruments exploited consisted of an evaluation form of research quality and a research summary form. The research findings discovered were: 1. 52 student-centered instructional models for mathematics were applied in the synthesized research studies. Those instructional models found were categorized into four groups: 1) one-model application (36 models); 2) two-model application (9 models); 3) model and teaching teachnique application (6 models); and 4) model and instructional media application (1 model). 2. Upon the synthesis results of the 52 student-centered instructional models for mathematics, the researcher specified three main componentes of student-centered instructional models. 2.1 Principles and practices in teaching and learning activities consisted of 1) activating learners' background knowledge and experience in the instruction, 2) stimulating real-life problem-solving situating or activities for effective instruction, 3) promoting learners' autonomy and research practice, 4) enhancing group activities for knowledge sharing with teachers and peers, 5) enhancing knowledge implication for learning retention, and 6) doing authentic assessment of knowledge and process skills by means of various methods. 2.2 Teacher's roles were demonstrated by 1) preparing stimulating problem solving situations or activities for new knowledge production, 2) raising questions to enhance learners' production or expansion of knowledge and to allow them to justify and check their en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account