DSpace Repository

การศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับการลดทอนของคลื่นในป่าชายเลน

Show simple item record

dc.contributor.author ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1644
dc.description.abstract โครงงานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านป่าชายเลน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของคลื่นที่เคลื่อนตัวผ่านแนวป่าชายเลนในพื้นที่จริง โดยเน้นลักษณะทางอุทกพลศาสตร์และการลดทอนของคลื่น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการลดพลังงานคลื่นกับตัวแปรที่สำคัญอื่น ได้แก่ ระดับความลึกของน้ำ ความสูงของคลื่น ความยาวของแนวป่าชายเลน และความหนาแน่นของต้นไม้ป่าชายเลน โดยได้ทำการศึกษา ณ บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ข้อมูลคลื่นถูกเก็บที่สถานีวัดคลื่น 3 สถานี คือ สถานีนอกฝั่งบริเวณแนวขอบป่าชายเลนติดกับทะเล สถานีกลางป่าซึ่งห่างจากสถานีแรก 50 เมตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีในสุด ซึ่งห่างจากสถานีแรก 100 เมตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเช่นกัน การวางแนวสถานีดังกล่าวเนื่องจากงานวิจัยสนใจคลื่นที่เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ข้อมูลคลื่นถูกเก็บจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557, ครั้งที่ 2 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และครั้งที่ 3 วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึง 23 เมษายน พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลพื้นที่ป่าชายเลน เช่น ขนาดและจำนวนต้นไม้ป่าชายเลน ความยาวแนวป่า ค่าระดับพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปัจจัยที่ต้องการพิจารณาต่อไป ผลการสำรวจภาคสนาม พบว่า คลื่นที่ตรวจวัดได้มีความสูงไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงที่หมดฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พอดี ความสูงคลื่นนัยสำคัญประมาณ 0.60 เมตร การลดทอนคลื่นบริเวณพื้นที่ใกล้ทะเลมีค่ามากกว่าบริเวณที่ถัดมาข้างใน โดยค่าเฉลี่ยของการลดทอนคลื่น ในพื้นที่ศึกษา 50 เมตรแรกมีค่าเท่ากับ 7.29% และค่าเฉลี่ยของการลดทอนคลื่น ในพื้นที่ศึกษา 50 เมตรถัดมา เท่ากับ 4.89% และพิจารณาพื้นที่ทั้งหมด 100 เมตร มีค่าเฉลี่ยของการลดทอนคลื่น เท่ากับ 6.76% ปัจจัยที่มีผลต่อการลดทอนคลื่น ได้แก่ ความยาวของแนวป่าชายเลน และระดับน้ำ โดยเมื่อความยาวของป่าชายเลนเพิ่มขึ้นและระดับน้ำลดลง การลดทอนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อความยาวแนวป่าชายเลนเพิ่มขึ้นและระดับน้ำลดลง โอกาสที่คลื่นถูกลดทอนด้วยระบบรากและลำต้นของต้นไม้ป่าชายเลนและอิทธิพลของความเสียดทานที่พื้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนของคลื่นเพิ่มมากขึ้น สำหรับปัจจัยเรื่องความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าชายเลน การศึกษานี้ยังไม่สามารถสรุปผลที่ชัดเจนได้ เนื่องจากค่าความหนาแน่นต้นไม้ของพื้นที่ศึกษาใกล้เคียงกันมาก th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คลื่นมหาสมุทร th_TH
dc.subject พลังงานคลื่น th_TH
dc.subject ป่าชายเลน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับการลดทอนของคลื่นในป่าชายเลน th_TH
dc.title.alternative A field study on wave attenuation in mangrove forests en
dc.type Research
dc.author.email thamnoon@buu.ac.th
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research is a field study on the behaviors of wave propagating through a mangrove forest. The research objectives are to study the wave behaviors in mangrove forests by focusing on hydrodynamics parameters and wave reduction and to find out the relationship between wave reduction efficient and other relating parameters: water depth, wave height, the width of mangroves forest line and the density of mangrove trees. Study area is the mangrove forest at the Bangpakong River Mouth, Tambon Klong Tamru, Amphoe Muang Chon Buri, Chon Buri Province, Thailand. Wave data was collected at three stations: offshore station, middle station and onshore station. The offshore station was located at the border between the mangroves and sea. The middle and onshore stations are located 50 m and 100 m respectively from the offshore station shoreward to the north-east in order to measure the wave induced by south-west winds. The wave data was measured three times: Octorber 6 – 8, 2014; November 28 – 30, 2014 and April 21 – 23, 2015. Moreover, the details of mangrove forests, which are the width of mangrove forest line, the number and size of mangrove trees, the ground elevation, to be employed in data analysis. The field study results show that the measured waves were not so high because the measuring time was out of the south-west monsoon season. The mean significant wave height is about 0.60 m. The wave reduction of outer zone was greater than it of inner zone. Averagely the wave reduction of out zone, inner zone and overall were 7.29%, 4.86% and 6.76% respectively. From data analysis, factors influencing the wave reduction are the width of mangroves line and water depth. As the width of forest line increase and the water depth decrease, the wave reduction will increase, because in such cases the drag forces due to root-and-trunk system of mangrove trees and the friction due to bed will decrease. As for the density of mangrove trees, in the study the relationship between the wave reduction and the tree density is still obscure because the difference of the tree densities of the outer and the inner zones was not great enough for analysis en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account