dc.contributor.author |
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย |
th |
dc.contributor.author |
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:08:30Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:08:30Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1615 |
|
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่อุณหภูมิต่ำเพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มของพ่อพันธุ์กุ้งกุลาดำ การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่เย็นถุงน้ำเชื้อ ผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ การแช่แข็งถุงน้ำเชื้อ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสเปิร์มขณะเก็บแช่เย็นและแช่แข็ง เพื่อพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมในการแช่เย็นและการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่เลี้ยงขุนขึ้นมาภายในฟาร์มเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผสมเทียมและพัฒนาแนวทางการจัดเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ การศึกษาคุณภาพสเปิร์มกุ้ง ทำโดยสุ่มกุ้ง
กุลาดำจากบ่อดินที่เลี้ยงขุนทุกๆเดือนตั้งแต่กุ้งมีอายุ 7 เดือน ถึง 18 เดือน พบว่า กุ้งมีถุงน้ำเชื้อมีสีขาวชัดเจนเมื่อกุ้งมีอายุ 9 เดือนขึ้นไปแม้ว่าเปอร์เซนต์กุ้งที่สามารถรีดถุงน้ำเชื้อออกมาได้ยังมีค่าไม่มาก และกุ้งอายุ 10-17 เดือนมีเปอร์เซนต์ที่สามารถรีดถุงน้ำเชื้อออกมาได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 50% เป็น 95%
การแช่เย็นถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ ทำโดยนำถุงน้ำเชื้อมาแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์ 4 ชนิดได้แก่ mineral oil, Ringer solution, phosphate buffer และ 0.85% NaCl ที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส แล้วทำการประเมินคุณภาพสเปิร์มทุก 7 วัน พบว่า ถุงน้ำเชื้อที่แช่ในสารละลาย mineral oil นาน 35 วันยังคงมี
ลักษณะภายนอกของถุงที่คงรูป และมีเปอร์เซนต์สเปิร์มที่มีชีวิตสูง การศึกษาผลของสารไครโอโพรเทค
แทนท์ 5 ชนิด (dimethylsulfoxide, ethylene glycol, propylene glycol, formamide และ
methanol) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 5%, 10%, 15% และ 20% นานเป็นระยะเวลานานต่างๆกัน (10,
20, 30 และ 60 นาที) พบว่า DMSO เป็นสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษต่ำต่อสเปิร์มกุ้ง
กุลาดำ การพัฒนาวิธีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ ทำการแช่แข็งด้วยการใช้อัตราการลดอุณหภูมิที่
ระดับแตกต่างกัน (2, 4, 6 และ 8 องศาเซลเซียส/นาที) ด้วยเครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติ มาที่อุณหภูมิ
สุดท้าย -30 และ -80 องศาเซลเซียส ก่อนนำไปแช่ในไนโตรเจนเหลว ปรากฏว่า การแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้ง
กุลาดำมาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศาเซลเซียสด้วยการใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส/นาที
ทำให้สเปิร์มมีชีวิตสูงหลังการละลาย การศึกษาโครงสร้างสเปิร์มที่แช่เย็น หรือแช่แข็งด้วยกล้อง
จุลทรรศน์อิเลคตรอน พบว่าถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่แช่เย็นยังคงมีสเปิร์มที่มีรูปร่างปกติ แต่ถุงน้ำเชื้อกุ้ง
กุลาดำที่แช่แข็ง มีสเปิร์มรูปร่างผิดปกติเมื่อระยะเวลาเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวนานขึ้น การผสมเทียม
แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำด้วยถุงน้ำเชื้อแช่เย็น หรือถุงน้ำเชื้อแช่แข็ง สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ไม่แตกต่างกับถุง
น้ำเชื้อสด แสดงถึง ศักยภาพในการนำเทคโนโลยีการแช่เย็นหรือการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อมาใช้ประโยชน์
ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ โดยควรศึกษาวิจัยการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
กุ้งกุลาดำ |
th_TH |
dc.subject |
น้ำเชื้อ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุลาดำที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of low temperature preservation technology of black tiger shrimp (Penaeus monodon) spermatophores for aquaculture and conservation |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
verapong@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
subunti@buu.ac.th |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
Development of low temperature preservation technology of black tiger shrimp (Penaeus monodon) spermatophores for aquaculture and conservation was investigated. Attempts were focused on assessment of sperm quality, development of chilled storage technique for spermatophore, effect of cryoprotectant toxicity, cryopreservation of spermatophores and morphological structure of chilled-stored and cryopreserved sperm in order to determine suitable method about chilled storage and freezing of P. monodon spermatophores for artificial fertilization and preliminary development of sperm bank. Male shrimp were monthly sampling at the ages of 7-18 months for determination of sperm quality. Shrimp older than 9 months had opaque of spermatophores despite lower percentage of stripped spermatophores. Shrimp at 10-17 months exhibited higher percentage of striped spermatophores (50-95%). Spermatophores were randomly preserved in mineral oil, Ringer solution, phosphate buffer or 0.85% NaCl at 2-4°C and sperm quality was evaluated every 7 days. Mineral oil was the appropriate buffer for chilled storage of spermatophores due to the presence of high sperm viability and stability of spermatophores. In order to evaluate the effect of five cryoprotectants (dimethyl sulfoxide, ethylene glycol, propylene glycol, formamide and methanol) on sperm viability, spermatophores were immersed in cryoprotectants at 5, 10, 15 and 20% for 10, 20, 30 and 60 min. Results showed that DMSO was the least toxic cryoprotectant on viability of sperm. Development of cryopreservation of spermatophores was evaluated based on freezing spermatophores at various cooling rates (2, 4, 6 and 8° C/min.) using controlled-rate programmable freezer to final temperatures of -30 or -80°C prior to plunging in liquid nitrogen. Spermatophores frozen at the rate of 4-6° C/min to a final temperature of -80°C had the highest post-thaw sperm viability compared to other treatments. Morphological study of chilled-stored and cryopreserved sperm using electron microscopy revealed that chilled-stored spermatophores had normal sperm structure while cryopreserved spermatophores started to have abnormal sperm structure at longer cryostorage period. Fertization capacity of P. monodon eggs with chilled-stored and post-thawed spermatophores was not different with that of freshly collected spermatophores, indicating the effectiveness of chilled storage and cryopreservation technologies for use in aquaculture and conservation despite further study about improvement of storage efficacy is required. |
en |