Abstract:
โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่อุณหภูมิต่ำเพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มของพ่อพันธุ์กุ้งกุลาดำ การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่เย็นถุงน้ำเชื้อ ผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ การแช่แข็งถุงน้ำเชื้อ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสเปิร์มขณะเก็บแช่เย็นและแช่แข็ง เพื่อพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมในการแช่เย็นและการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่เลี้ยงขุนขึ้นมาภายในฟาร์มเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผสมเทียมและพัฒนาแนวทางการจัดเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ การศึกษาคุณภาพสเปิร์มกุ้ง ทำโดยสุ่มกุ้ง
กุลาดำจากบ่อดินที่เลี้ยงขุนทุกๆเดือนตั้งแต่กุ้งมีอายุ 7 เดือน ถึง 18 เดือน พบว่า กุ้งมีถุงน้ำเชื้อมีสีขาวชัดเจนเมื่อกุ้งมีอายุ 9 เดือนขึ้นไปแม้ว่าเปอร์เซนต์กุ้งที่สามารถรีดถุงน้ำเชื้อออกมาได้ยังมีค่าไม่มาก และกุ้งอายุ 10-17 เดือนมีเปอร์เซนต์ที่สามารถรีดถุงน้ำเชื้อออกมาได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 50% เป็น 95%
การแช่เย็นถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ ทำโดยนำถุงน้ำเชื้อมาแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์ 4 ชนิดได้แก่ mineral oil, Ringer solution, phosphate buffer และ 0.85% NaCl ที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส แล้วทำการประเมินคุณภาพสเปิร์มทุก 7 วัน พบว่า ถุงน้ำเชื้อที่แช่ในสารละลาย mineral oil นาน 35 วันยังคงมี
ลักษณะภายนอกของถุงที่คงรูป และมีเปอร์เซนต์สเปิร์มที่มีชีวิตสูง การศึกษาผลของสารไครโอโพรเทค
แทนท์ 5 ชนิด (dimethylsulfoxide, ethylene glycol, propylene glycol, formamide และ
methanol) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 5%, 10%, 15% และ 20% นานเป็นระยะเวลานานต่างๆกัน (10,
20, 30 และ 60 นาที) พบว่า DMSO เป็นสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษต่ำต่อสเปิร์มกุ้ง
กุลาดำ การพัฒนาวิธีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำ ทำการแช่แข็งด้วยการใช้อัตราการลดอุณหภูมิที่
ระดับแตกต่างกัน (2, 4, 6 และ 8 องศาเซลเซียส/นาที) ด้วยเครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติ มาที่อุณหภูมิ
สุดท้าย -30 และ -80 องศาเซลเซียส ก่อนนำไปแช่ในไนโตรเจนเหลว ปรากฏว่า การแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้ง
กุลาดำมาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศาเซลเซียสด้วยการใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส/นาที
ทำให้สเปิร์มมีชีวิตสูงหลังการละลาย การศึกษาโครงสร้างสเปิร์มที่แช่เย็น หรือแช่แข็งด้วยกล้อง
จุลทรรศน์อิเลคตรอน พบว่าถุงน้ำเชื้อกุ้งกุลาดำที่แช่เย็นยังคงมีสเปิร์มที่มีรูปร่างปกติ แต่ถุงน้ำเชื้อกุ้ง
กุลาดำที่แช่แข็ง มีสเปิร์มรูปร่างผิดปกติเมื่อระยะเวลาเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวนานขึ้น การผสมเทียม
แม่พันธุ์กุ้งกุลาดำด้วยถุงน้ำเชื้อแช่เย็น หรือถุงน้ำเชื้อแช่แข็ง สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ไม่แตกต่างกับถุง
น้ำเชื้อสด แสดงถึง ศักยภาพในการนำเทคโนโลยีการแช่เย็นหรือการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อมาใช้ประโยชน์
ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ โดยควรศึกษาวิจัยการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาต่อไป