Abstract:
ประสิทธิภาพการเสริมกำลังรับแรงอัดของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีที่นิยมใช้ในประเทศไทยสามวิธี คือ การเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิด
ไม่หดตัว และการเสริมกำลังเสาด้วยวิธีการพันด้วยแผ่นไฟเบอร์คาร์บอน ถูกนำเสนอผ่านผลการศึกษานี้ด้วยการทดสอบตัวอย่างเสาในห้องปฏิบัติการ เตรียมตัวอย่างเสา ค.ส.ล. ทดสอบต้นแบบ (C) ชนาดหน้าตัด 15x15, 20x20 และ 25x25 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร จำนวนหน้าตัดละ 5 ตัวอย่าง เมื่อบ่มอายุคอนกรีตจนได้อายุ 28 วัน นำตัวอย่างเสา ค.ส.ล. ต้นแบบจำนวนหน้าตัดละ 4 ตัวอย่างมาทำการเสริมกำลังด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรียเสริมเหล็ก (RCJ) 1 ตัวอย่าง ทำการเสริมกำลังด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว (NS) 1 ตัวอย่าง และทำการเสริมกำลังด้วยวิธีการพันรอบด้วยแผ่นไฟเบอร์คารืบอน 1 ชั้น (F1) จำนวน 1 ตัวอย่าง และ 2 ชั้น (F2) 1 ตัวอย่าง จากนั้นทำการทดสอบความสามารถในการรับแรงอัดของเสาแต่ละหน้าตัดรวมทั้งหมดเป็น 15 ตัวอย่าง นำค่ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมการพังของเสา จากผลการทดสอบเสาสรุปได้ว่าการเสริมกำลังเสาทั้งสามวิธีช่วยเพิ่มกำลังรับแรงอัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกเว้นวิธีการเสริมกำลังด้วยการเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว นอกจากนั้นเสาที่เสริมกำลังด้วยวิธีนี้ยังมีพฤติกรรมการพังแบบเปราะ ดังนั้นการเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว (NS) โดยใช้รายละเอียดเหล็กยืนที่มุมเสาและพันรอบด้วยลวดตะแกรง เป็นการเสริมกำลังที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สมควรนำไปใช้ในงานก่อสร้างจริง