DSpace Repository

การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์

Show simple item record

dc.contributor.author วีระพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย th
dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:11Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:11Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1550
dc.description.abstract โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำและการอนุรักษ์ ได้ศึกษาศึกษาชนิดของสารไครโอโพรเทคแทนท์ (cryoprotectant) ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยแบบแช่แข็ง โดยได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทค แทนท์ชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol และsucrose) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 60, 90, 120 และ 150 นาที และศึกษาผลของอัตราการลดอุณหภูมิ (-1, -3, -5 และ -7 องศาเซลเซียส/นาที) ที่ มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลายี่สกไทยที่ผ่านการแช่แข็ง ได้ผลการทดลองพบว่า DMSO มีความเป็นพิษน้อยที่สุด รองลงมา คือ ethylene glycol และ propylene glycol ตามลำดับ โดย sucrose มีความเป็นพิษต่อสเปิร์มมากที่สุด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลาย Ca-F HBSS ร่วมกับ DMSO, ethylene glycol และ propylene glycol แล้วนำมาเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส) ปรากฎว่า DMSO มีความเหมาะสมมากที่สุดในการแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทย โดยการแช่แข็งด้วยการใช้ 10% DMSO และลดอุณหภูมิในอัตรา 5 องศาเซลเซียส/นาที หรือลดอุณหภูมิในอัตรา 7 องศาเซลเซียส/นาที ทำให้เปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย (post-thaw sperm motility) มีค่าเฉลี่ยสูงไม่แตกต่างกับน้ำเชื้อสด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ extender 7 ร่วมกับ DMSO, methanol และ propylene glycol) พบว่า การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยมาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศาเซลเซียส ให้ผลการทดลองดีกว่าการใช้อุณหภูมิสุดท้าย -40 องศา เซลเซียส โดยเปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายที่มีค่าสูงสุดได้จากชุดการทดลองที่ใช้ สารละลาย 20% DMSO และลดอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส/นาที มาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศา เซลเซียส การพัฒนาแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยไอไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ด้วยการแช่แข็งที่ความสูงเหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว 4-6 เซ็นติเมตร โดยให้น้ำเชื้อปลายี่สกไทยสัมผัสไอไนโตรเจนเหลว 10 นาที น้ำเชื้อปลายี่สกไทยแช่แข็งที่เก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวนาน 1 เดือนมีการเคลื่อนที่ของสเปิร์มและศักยภาพในการปฏิสนธิไข่ปลายี่สกไทย ไม่แตกต่างจากน้ำเชื้อสด สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ปลายี่สกไทยได้ต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject น้ำเชื้อ- - การเก็บรักษา th_TH
dc.subject ปลายี่สก th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์ th_TH
dc.title.alternative Development of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservation en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Development of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservation was investigated to generate baseline information of cryoprotectant toxicity on sperm motility and develop suitable freezing protocol. Four cryoprotectants (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol and sucrose) were selected to dilute milt at four final concentrations (5, 10, 15 and 20%). After exposure on milt for 10, 20, 30, 60, 90, 120 and 150 min., DMSO was shown to be the least toxic to sperm motility. Ethylene glycol and propylene glycol were more toxic to sperm motility while sucrose was the most toxic cryoprotectant. Freezing of milt with DMSO, ethylene glycol or propylene glycol using various freezing rates (-1, -3, -5 and -7°C/min) was found that DMSO was the most appropriate cryoprotectant for cryopreservation of milt. Milt cryopreserved with 10% DMSO and frozen at the rate of -5 or -7°C/min resulted in the highest post-thaw sperm motility comparable to those of fresh milt. Milt diluted with extender 7 were frozen with DMSO, methanol or propylene glycol to final temperatures -40 or -80°C prior to plunging in liquid nitrogen. Highest post-thawed sperm motility was obtained from a treatment with 20% DMSO and freezing rate of -3°C/min to -80°C before storage in liquid nitrogen. Development of freezing of milt in liquid nitrogen vapor was successful by freezing 4-6 cm above liquid nitrogen surface for 10 min. Cryopreserved milt kept in liquid nitrogen for a month had comparable sperm motility and fertilization capacity with fresh milt, indicating the benefit of frozen milt of P. jullieni for use in aquaculture and conservation. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account