DSpace Repository

แนวคิดสิทธิ์ในทรัพย์สินจากกฎหมายตราสามดวง

Show simple item record

dc.contributor.author เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1490
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องแนวคิดสิทธิในทรัพย์สินจากกฎหมายตราสามดวงนี้ เป็นการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับประเภทของทรัพย์สิน การได้มาและการครอบครองซึ่งทรัพย์สินในสังคมไทยสมัยอยุธยา ซึ่งพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินในกฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่แตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ การจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์การมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ส่วนการได้มาซึ่งทรัพย์สินของบุคคลสถานภาพต่าง ๆ ในสังคมขึ้นอยู่กับโครงสร้างสังคมไทยในสมัยอยุธยา ที่จะมีพื้นฐานจากระบบศักดินา คือ เจ้านายและขุนนางจะมีสิทธิในทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ เหนือกว่าราษฎรทั่วไป (ไพร่ ทาส) ทั้งนี้เพราะการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่พระมหากษัตริย์พระราชทานยศ ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ รวมทั้งไพร่ทาสให้กับเจ้านายและขุนนาง อีกส่วนมาจากการแสวงหาเพิ่มเติมจากการทำมาหากินในระบบเศรษฐกิจทั้งการทำนา ทำสวน และการค้าขาย โดยใช้แรงงานของไพร่ทาสในสังคมอยุธยาก็สามารถที่จะสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินได้ จะพบว่ากฎหมายจำนวนมากได้ กล่าวถึง การครอบครองทรัพย์สินและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยให้ความเป็นธรรม กับเจ้าของทรัพย์สินทุกประเภท ไม่ว่าผู้ครอบครองนั้นจะเป็นเจ้านาย ขุนนางหรือไพร่ทาสก็ตาม ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการจัดการทรัพย์สินจะพบว่า รัฐมีบทบาทในการจัดการพื้นฐานตั้งแต่การพระราชทานทรัพย์สินต่าง ๆ ให้กับเจ้านาย ขุนนาง ซึ่งแสดงถึงสิทธิในการได้มาและครอบครองทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ขณะเดียวกันรัฐก็ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินด้วย การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินสินหลายฉบับที่ช่วยยืนยันสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไพร่ ทาส ที่ดินที่สวน ข้าวในนาพืชไร่ พืชสวน หรือสวนทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ความ รัฐได้มีการออกกฎหมายกำหนดถึงแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเอาผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลักการสำคัญ จึงพบว่าการจัดการทรัพย์สินของรัฐในกฎหมายตราสามดวงจะเน้นที่การสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้กับรัฐผ่านการปกป้องแรงงานไพร่ทาส มิให้ล้มหายตายหรือลดลง เพื่อให้สามารถเป็นแรงงานที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐผ่านการทำมาหากินในสังคมเกษตรและการค้าขาย รวมทั้งรัฐยังมีการออกกฎหมายเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินมรดกบางส่วน จากเจ้านายและขุนนางเข้าเป็นของรัฐซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมความมั่งคั่งของเจ้านายมิให้มีมากเกินจนอาจทำลายความมั่นคงของรัฐได้ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ปีงบประมาณ 2553 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กฎหมายตราสารดวง th_TH
dc.subject ทรัพย์สิน th_TH
dc.title แนวคิดสิทธิ์ในทรัพย์สินจากกฎหมายตราสามดวง th_TH
dc.title.alternative The concept of property in the three seals law th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The research on the concept of intellectual property rights under the Three Seals Law (the first Thai Enacted law) aims to study the notion about types of properties, acquisition and possession of properties in the Thai society in the Ayutthaya era. The study shows that the thought about properties under the Three Seals Law differs from that of the present day. The classification was made, based upon living or non-living criteria. The acquirement of properties by people with different statuses in the society depends on the Thai social structure in the Ayutthaya era. Which is based on feudalism. It means that the lords and the nobleman had more rights in different types of properties than people in general (commoners and slaves). Their acquisition of one part of properties came from ranks, titles, coronets together with commoners and slaves granted by the king. The other part of the properties came from their additional searches by working in the economic system, including farming, gardening and trade, using the commoners and the slaves’ workforce and from the interests of those properties. However, the commoners and the slavesin the Ayutthaya society were entitled to possess properties. Several laws mentioned about the possession of the properties and the conflicts caused from both living and non-living properties, by giving a fair justice to the owners of all types of properties, whether they were lords, the nobleman or commoners and slaves. Meanwhile, the concept of the government role for property management shows that the government played a role in basic management of properties granted to the lords and the nobleman, indicating their rights in the acquirement and the possession of different types of properties. At the same time, the government protected the right in the properties by issuing several laws. The laws helped protect the rights in the properties of those people. By these reasons, for conflicts arising out of the properties, whether they were about commoners, slaves, land, gardens, rice in the fields or other properties, such as elephants, horses, cows and buffaloes, the government issued laws to set up guidelines and solutions by being based upon the government interest. Property management by the government under the Three Seals Law is found to focus on the building of government wealth and stability by protecting commoners and slaves, so that they would not die or their number would not be reduced to ensure that they were beneficial to the government, by working in the farming and trading societies. In addition, the government issued a law to get some parts of properties and portions from the lords and the nobleman, which was a method of lords’ wealth control to prevent them from over-accumulation possibly destroying government stability. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account