Abstract:
งานวิจัยโครงการ รูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก ในระยะที่ 1 นี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อสังเคราะห์เอกสารและศึกษาความเห็นของผู้เชี่ยวชาฐเกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก รวมทั้งเพื่อพัฒนาและนำเสนอ (การนำเสนออยู่ในระยะที่ 2 ปีงบประมา 2557) รูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก โดยมีขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสังเคราะห์เอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก และในระยะที่ 3 เป็นการนำเสนอรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก (ปีงบประมาณ 2557) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการลงรายการเชิงสังเคราะห์, แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, แบบทดสอบความเห็น และแบบรับรองรูปแบบ ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยได้แก่ ผู้ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบความจริงเสมือน (Virtual Reality) ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบรูปแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนภาคตะวันออก ประกอบด้วยการจัดแสดงเนื้อหาเรื่องราวผ่านสื่อมัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบในพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมเสมือนรวมทั้งสิ้น 7 ตอน ประกอบด้วย 1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออก ใช้การนำเสนอผ่านภาพ 3 มิติ ประกอบกับภาพกราฟิก ข้อความ รวมทั้งบทบรรยายในการอธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2) กลุ่มชาติพันธ์ในชาติตะวันออก นำเสนอผ่านวิดีทัศน์ประกอบคำบรรยาย, ข้อความ ภาพกราฟิก รวมทั้งภาพ 3 มิติ ในการอธิบายลักษณะทางชาติพันธ์ กิจกรรม วัฒนธรรม รวมทั้งลักษณะที่อยู่อาศัยของชาติพันธ์ต่างๆ 3) ชุมชนโบราณทางภาคตะวันออก นำเสนอผ่านวิดีทัศน์ประกอบคำบรรยาย, ข้อความ รวมทั้งภาพกราฟิกและภาพ 3 มิติ ในการอธิบายลักษณะเฉพาะของพื้นที่รวมทั้งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ 4) รูปแบบจิตรกรรมของภาคตะวันออก นำเสนอโดยใช้ภาพกราฟิก ผสานกับการบรรยายและข้อความในการอธิบายข้อมูล 5) รูปแบบปะติมากรรมของภาคตะวันออกใช้ภาพ 3 มิติ ประกอบคำบรรยายและข้อความในการนำเสนอข้อมูล 6) รูปแบบสถาปัตยกรรมของภาคตะวันออกใช้ภาพ 3 มิติ ประกอบกับบทบรรยาย ภาพกราฟิกและข้อความในการนำเสนอข้อมูล และ 7) ศิลปหัตถกรรมของภาคตะวันออกใช้วิดีทัศน์ผสานกับภาพกราฟิก, บทบรรยาย, ข้อความ รวมทั้ง ภาพ 3 มิติ ในการอธิบายข้อมูล