DSpace Repository

พฤติกรรมคาน-เสา-แผ่นพื้นสำเร็จรูปคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยภายใต้แรงแผ่นดินไหว

Show simple item record

dc.contributor.author อานนท์ วงษ์แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:33Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:33Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1406
dc.description.abstract การศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมและศักยภาพของข้อต่อคาน-เสา-พื้นที่สำเร็จรูปของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างโดยใช้มาตรฐานการก่อสร้างของประเทศไทยในการรับแรงแผ่นดินไหวด้วยการทดสอบตัวอย่างขนาดใหญ่ในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ตัวอย่างทดสอบที่ 1 ถูกออกแบบและมีรายละเอียดการเสริมเหล็กเพื่อรับแรงบรรทุกในแนวดิ่งเท่านั้น ส่วนตัวอย่างทดสอบที่ 2 ถูกออกแบบเหมือนตัวอย่างที่ 1 ทุกประการยกเว้นมีรายละเอียดการเสริมเหล็กตามมาตรฐานการเสริมเหล็กสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรับแรงแผ่นดินไหวตาม มยผ.1301-50 (มยผ.1302-52) ทั้งนี้ตัวอย่างทดสอบทั้งสองตัวอย่างก่อสร้างด้วยช่างที่ชำนาญงานก่อสร้างอาคารคอนกรีตในประเทศไทย ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าเครื่องทดสอบ UTM สามารถประยุกต์ใช้ในการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตขนาดใหญ่นอกแกนเครื่องให้ผลการทดสอบดีมากเมื่อเทียบกับผลการทดสอบจากนักวิจัยท่านอื่นๆ ตัวอย่างที่ 2 รับแรงกระทำสูงสุดที่ปลายคานได้น้อยกว่าตัวอย่างที่ 1 เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามตัวอย่างที่ 2 สามารถหมุนได้สูงสุดเท่ากับ 5% radian และตัวอย่างที่ 1 สามารถหมุนได้สูงสุดเท่ากับ 4% radian เพิ่มขึ้นคิดเป็น 25% นอกจากนี้ตัวอย่างที่ 2 สามารถสลายพลังงานได้มากกว่าตัวอย่างที่ 1 เท่ากับ 21% การเสริมเหล็กตามมาตรฐานการเสริมเหล็กสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว มยผ.1301-50 (มยผ.1302-52) ไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงของตัวอย่างคาน-เสาแผ่นพื้นสำเร็จรูป ค.ส.ล แต่ช่วยเพิ่มความเหนี่ยวและความสารถในการสลายพลังงานจากแรงแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามการเพิ่มเหล็กปลอกในเสาและคานที่ตรงบริเวณด้านในข้อต่อและบริเวณรอบๆข้อต่อ สามารถลดการเกิดรอบแตกขนาดใหญ่ในคานหลักและเสา และช่วยลดเกิดรอยแตกด้านบนแผ่นพื้นสำเร็จรูปคอนกรีตเสริมเหล็ก th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีตเสริมเหล็ก th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title พฤติกรรมคาน-เสา-แผ่นพื้นสำเร็จรูปคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาต้นริมที่ก่อสร้างในประเทศไทยภายใต้แรงแผ่นดินไหว th_TH
dc.title.alternative Behavior of reinforced concrete beam-column-plank slabs of exterior columns constructed in Thailand under earthquake load en
dc.type Research
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative This study is to evaluate the potential of a reinforced concrete beam-column-precast slab structure under fictitious earthquake loading through experiments of nearly full-scale specimens in the laboratory at Burapha University. The test program comprises of two specimens of the beam-column-precast slab: sp1 and ap2. Both of specimens are designed in accordance with ACI318-99 for a reinforced concrete structure under service of a gravity load. As a matter of fact, these specimens are constructed by highly skilled reinforced concrete workers. The reinforcing details as usually practice in Thailand are employed. Moreover, the reinforcing details of Thai standard for reianforced concrete buildings resistance earthquake 1301-50(1302-52) are implemented into parts of the beam-column connection of sp2. More stirrups are added to a beam and column part near the connection, and inside the connection as well. The results from the tests show that even though sp2 can resist insignificantly lower than sp1, sp2 can rotate as much as 5% radian comparing with 4% radian of sp1 as of 25% increment. In addition, sp2 can participate in energy absorption more than sp1 approximately 21%. Therefore, it can be concluded that the reinforcing details as described by Thai standard for reinforced concrete building resistance earthquake 1301-50(1302-52) can not increase strength of the reinforced concrete beam-column-precast slab, sp2. However, ductility and energy absorption of sp2 reasonably increases. Crack patterns of sp1 and sp2 quite different as well. Sp1 has major cracks concentrating in the connection area especially at the man beam and column. On the other hand, cracks of sp2 rather occur in both sides of those minor beams. The cracks on the surface of slab of sp1 are also obviously noticed than sp2. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account