Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากหน่วยงาน/ สถานประกอบการ ต่างๆ จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามตัวชี้วัดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .58 - .90 ถ้าความเชื่อมั่นในแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม α = .91 ความรู้ α = .93 การทักษะทางปัญญา α = .92 การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ α = .87 และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ α = .94 และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวชี้วัดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม 7 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ 6 ตัวชี้วัด ด้านทักษะทางปัญญา 6 ตัวชี้วัด ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 6 ตัวชี้วัด และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ 6ตัวชี้วัด
2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาด้วยกันวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมสอดคล้องดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า X^2 = 438.670, p = .51, X^2 /df = 1.798, RMSEA =.026, NFI=.9553, NNFI = .921, CFI = .958, CN = 243.323, RMR = .019, SRMR = .023, GFI = .967, AGFI = .926, PGFI = .577, Pc = .980 และ Pv = .615 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ เป็นบวกมีขนาดตั้งแต่ .84 ถึง .97 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า
โดยสรุป ตัวชี้วัดคุณลักษณะของบัณฑิตพี่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของนิสิต หรือประกอบการกำหนดนโยบาย วางแผนการจัดการศึกษาของสถาบันเพื่อปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและตลาดแรงงานต่อไป
ไม่มีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ