DSpace Repository

ความคงทนของคอนกรีตเสริมเหล็กภายหลังซ่อมแซมและเผชิญกับการทำลายของเกลือคลอไรด์

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:04:24Z
dc.date.available 2019-03-25T09:04:24Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1292
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตที่มีวัสดุซ่อมแซม โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลักในคอนกรีต อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 และ 0.60 และอัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.30 และ 0.50 บ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำเป็นเวลา 7 วัน และ 28 วัน และทำการเคลือบผิวหน้าตัวอย่างคอนกรีตด้วย Crystal seal และ Xypex concentrate ยกเว้นที่ผสมด้วย Xypex admix C-1000NF จากนั้นนำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่ในสารละลายดซเดียมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นเกลือคลอไรด์ 5.0% โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 91 วัน 182 วัน และ 365 วัน เมื่อครบระยะเวลาการแช่จึงทำการทดสอบเพื่อหาค่าการแทรกซึมคลอไรด์ในคอนกรีต จากการทดสอบพบว่า ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของตัวอย่างคอนกรีตขึ้นอยู่กับอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน อัตราการเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ระยะเวลาการบ่ม และชนิดของวัสดุซ่อมแซมที่นำมาใช้ โดยเมื่ออัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเพิ่มขึ้นจาก 0.50 เป็น 0.60 ความสามารถต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตมีค่าลดลง และเมื่ออัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเพิ่มขึ้นจาก 0.30 เป็น 0.50 ความสามารถต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคินกรีตมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เมื่อใช้ระยะเวลาบ่มคอนกรีตนานขึ้นจาก 7 วันเป็น 28 วัน ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย ดวามต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของตัวอย่างคอนกรีตที่เคลือบด้วย Crystal seal และ Xypex concentrate และที่ผสมด้วย Xypex admix C-100NF มีค่าสูงกว่าของตัวอย่างคอนกรีตที่ไม่ใช่วัสดุซ่อมแซม คอนกรีตที่ผสมวัสดุซ่อมแซม Xypex admix C-100NF มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์มากที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คลอไรด์ th_TH
dc.subject คอนกรีตเสริมเหล็ก th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title ความคงทนของคอนกรีตเสริมเหล็กภายหลังซ่อมแซมและเผชิญกับการทำลายของเกลือคลอไรด์ th_TH
dc.title.alternative Durability of reinforced concrete after repair and exposed to chloride attack en
dc.type Research
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative This research aims to study resistance to chloride penetration of concrete with repairing materials. Type I Portland cement was used as a main cementitious material of concrete. Water tobinder ratio was varied at 0.50 and 0.60 and fly ash to binder was used at 0.30 and 0.50. Concrete specimens were cured in the tap water for 7 and 28 days. After curing, concrete specimens were coated with Crystal seal and Xypex concentrate, except concrete specimens those were admixed by Xypex admix C-1000NF. Then, concrete specimens were submerged in sodium chloride solution of 5.0% chloride concentration for 91, 182 and 365 days. At the end of submersion period, chloride penetration profiles of concrete specimens were investigated. From the tested results, it was found that the resistance to chloride penetration of concrete specimens depends on water to binder ratio, fly ash to binder ratio, curing time and type of repairing materials. When water to binder ratio increases from 0.50 to 0.60, resistance to chloride penetration of concrete decreases. Increase of fly ash to binder replacement ratio from 0.30 to 0.50 results in higher chloride penetration resistance of concrete. Moreover, longer curing time from 7 to 28 days results in higher chloride penetration resistance of concrete. Chloride penetration resistance of concrete specimens coated with Crystal seal and Xypex concentrate and admixed by Xypex admix C-1000NF are higher than those of concrete specimens without repairing materials. concrete admixed by Xypex admix C-1000NF admix C-1000NF has the highest chloride penetration resistance. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account