DSpace Repository

ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กออทิสติก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisor ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
dc.contributor.author ตฤณ กิตติการอำพล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:51:35Z
dc.date.available 2024-02-05T06:51:35Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12794
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
dc.description.abstract การวิจัยเพื่อพัฒนาผลงานประติมากรรมเพื่อการบําบัดเด็กออทิสติกมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลงานประติมากรรมในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทางกาย โดยใช้แบบแผนการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed methods research) แบบ The Exploratory Sequential Design โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ (Practice led research) และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กันไป ผู้วิจัยในฐานะเป็นประติมากรมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาผลงานประติมากรรมโดยอาศัยหลักการทฤษฎีจากกระบวนการด้านกิจกรรมบําบัด (Occupational therapy) ศิลปะแบบไคเนติก (Kinetic art) และมูลฐานทางด้านศิลปะ (Element of art) นํามาบูรณาการให้ได้มาซึ่งผลงานประติมากรรมที่สามารถเป็นทางเลือกในการบําบัดเด็กออทิสติก ซึ่งเกิดจากการดําเนินงานโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สํารวจข้อมูลพื้นฐาน การศึกษาและการค้นคว้าระยะที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ระยะที่ 3 การทดลองทดสอบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักกิจกรรมบําบัด ผลการใช้ประติมากรรม เพื่อการบําบัดเด็กออทิสติกเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบแบบ One-Group Pretest-Posttest Design ผลงานที่พัฒนาขึ้นมาจะเป็นลักษณะผลงานประติมากรรมที่ประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็นกิจกรรม การละเล่นที้สอดคล้องและช่วยส่งเสริมในการบําบัดเด็กออทิสติกจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและจากการทดสอบทางด้านกายภาพ ระยะเวลาทําการทดลอง 4 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 วัน การประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ The Sign Test for Median: One Sample แบบสมมุติฐานนอนพาราเมติก The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลงานประติมากรรมเพื่อการบําบัดเด็กออทิสติก มีการบูรณาการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการบําบัดและความงาม อยู่ในระดับดีมาก 2. ความสามารถในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กและการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทางกาย มีประสิทธิผล ดังนี้ 2.1 เด็กออทิสติก มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่หลังจากการใช้ประติมากรรม เพื่อการบําบัดเด็กออทิสติก สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2 เด็กออทิสติก มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หลังจากการใช้ประติมากรรม เพื่อการบําบัดเด็กออทิสติก สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 เด็กออทิสติก มีความสามารถในการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทางกายหลังจากการใช้ประติมากรรมเพื่อการบําบัดเด็กออทิสติกสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject เด็กออทิสติก -- การดูแล
dc.title ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กออทิสติก
dc.title.alternative Therapeutic sculpture for children with autism
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to develop the sculpture for Gross Motor, Fine Motor development and stimulate physical senses for treatment of children with autism. A sculpture has studied and develop pieces of sculpture based on theory of Occupational Therapy, Kinetic and Element of Art. They have been integrated to be pieces of sculpture for alternative treatments for children with autism. The processes have been divided into 3sections, 1) research studies, 2) created and find Quality instrument 3) pieces of sculpture experiment by pretest and posttest. Sculpture designshave consisted of tools as relevant activities and treatment-support children with autism that evaluated by the experts. As the physical results the experiment periods were 4 weeks (5days a week) The evaluationdata analysis were median and interquartile range to paths with the sign test for median; One sample and the Wilcoxon matched pairs signed-ranks test. The results of research showed that: 1. Evaluation of pieces of sculpture for children with autism treatment in term of qualitative of aesthetic and efficiency of instruments by experts showed excellent quality. The relevant detail has approved as shown in hypothesis 1 2. Effectiveness of the children treatment evaluation with autism who have physical senses problem, Gross Motor and Fine Motor and stimulate in physical senses pretest and posttest of the treatment showed good performance level and statendical difference at .05levels, Relevant to hypothesis as follows 2.1 Ability to improve Gross Motor function after using Therapeutic Sculpture for Children with Autism was significantly higher at .05level. 2.2 Ability to improve Fine Motor function after using Therapeutic Sculpture for Children with Autism was significantly higher at .05level. 2.3 Ability to stimulate the physical senses after using Therapeutic Sculpture for Children with Autism was significantly higher at .05level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account