Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการอักษรไทยน้อย 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการอักขรวิธีอักษรไทยน้อย 3. เพื่อศึกษาถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึก และ 4. เพือศึกษาพลวัตอักษรไทยน้อยในสังคมปัจจุบันผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการด้านอักษร พบพยัญชนะตัวเต็ม 37 ตัว พยัญชนะตัวเชิง 7 ตัว
พยัญชนะประสม 56 ตัว สระ 25 ตัว ตัวเลข 10 ตัว และเครืองหมาย 6 ตัว โดยมีพัฒนาการรูปแบบอักษรสมบูรณ์สูงสุดในศตวรรษที่ 22 และในศตวรรษที่ 25
ด้านอักขรวิธี พบว่า พยัญชนะต้นเดี่ยว ในศตวรรษที่่ 23 มีการลดจำนวนการใช้พยัญชนะลง โดยการนำพยัญชนะที่มีเสียงคล้ายมาใช้แทนกัน พยัญชนะต้นประสม มี 2 ประเภท คือ อักษรควบกล้ำ ร ล ว พบว่ามีการควบกล้ำอักษรทั้งหมด 20 ตัว และพบการใช้อักษรนำ 24 ตัว พยัญชนะสะกดพบ 8 มาตรา พัฒนาการอักขรวิธีสระ พบว่า ในศตวรรษที่ 25 มีพัฒนาการการใช้สระสมบูรณ์ที่สุด พัฒนาการอักขรวิธีตัวเลข มีพัฒนาการการใช้จำนวนตัวเลขตั้งแต่หลักสิบถึงหลักล้านพัฒนาการเครื่องหมาย มีพัฒนาการสูงสุดในศตวรรษที่ 25
ด้านถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึก พบว่า ถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึกในศิลาจารึกของราชสำนักและใบจุ้มมีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนในศิลาจารึกของเจ้าเมืองและเอกสารใบลานมีถ้อยคำภาษาและรูปแบบระเบียบวิธีจารึกที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนด้านพลวัตในปัจจุบัน มีพลวัตที่เกิดโดยองค์กรเอกชน 2 แห่ง หน่วยงานของรัฐ 6 แห่ง และปัจเจกชน 9 คน โดยลักษณะพลวัตแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอนุรักษ์และเผยแพร่ กลุ่มฟื่อนฟูและสืบสาน และกลุ่มพัฒนา ปัญหาของพลวัตในปัจจุบัน คือ การเขียนที่ขาดเอกภาพ ปัญหาการเขียนคำสมัยใหม่ และการนำอักขรวิธีอักษรไทยเข้ามาปะปนในอักขรวิธีอักษรไทยน้อย