DSpace Repository

ระฆังโบราณ : การจัดทำทะเบียนและการสื่อความหมาย ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนัส แก้วบูชา
dc.contributor.advisor ภูวษา เรืองชีวิน
dc.contributor.author สุภัทรชัย จีบแก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:44:17Z
dc.date.available 2024-02-05T06:44:17Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12780
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง ระฆังโบราณ: การจัดทําทะเบียนและการสื่อความหมาย ณ วัดพระพุทธบาทราชมหาวิหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิสถาน ภูมิสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่วิจัย ศึกษาคติความเชื่อและความเชื่อมโยงกับเสียงและความหมาย จัดทําทะเบียน การสื่อความหมายและการจัดระบบเสียงขึ้นใหม่ และจัดทําต้นแบบวิธีการสื่อความรู้สู่แนวคิดหนังสือนําชมระฆังโบราณ การดําเนินการวิจัยใช้กรอบแนวคิดตามหลักการจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ การจัดการความรู้ หลักการทางภูมิทัศน์ วัฒนธรรม การจัดทําทะเบียนของพิพิธภัณฑสถานวิทยา การสื่อความหมายขององค์การวิชาชีพด้านมรดก วัฒนธรรมอีโคโมสประเทศไทยและหลักการของระบบเสียงของดนตรีชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า วัดได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าทรงธรรม เมื่อ พ.ศ. 2167 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากว้าง 14.70 เมตร ยาว 29.09 เมตร มีโบราณสถานสิ่งก่อสร้างเสนาสนะ 31 แห่ง ที่สำคัญยิ่ง คือ รอยพระพุทธบาทกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในพระมณฑป และพบว่า มีหอระฆังราวทอดยาวมีระฆัง จํานวน 72 ใบ จําแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มระฆังไม่มีลวดลาย จํานวน 14 ใบ กลุ่มระฆังที่มีลวดลายด้านข้าง จํานวน 8 ใบ กลุ่มระฆังลายสังวาลเพชร จํานวน 1 ใบ กลุ่มระฆังลายดอกพิกุล จํานวน 1 ใบ กลุ่มระฆังยุคใหม่เสียงกังวานดี จํานวน 4 ใบ และกลุ่มระฆังยุคใหม่ จํานวน 44 ใบ ทั้งนี้ยังได้จําแนกยุคสมัย ลวดลายและจัดระบบเสียงขึ้นใหม่ ด้วยการเรียงจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง ผู้วิจัยและคณะได้พัฒนาโปรแกรมการจัดทําทะเบียนขึ้นใหม่เป็นระบบทะเบียนที่สะดวกและเข้าถึงง่าย สําหรับระบบเสียงระฆังผู้วิจัยได้วิเคราะห์จําแนกให้เกิดเป็นกระบวนการขั้นตอนที่เหมาะสม ปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับการจัดทําทะเบียนระฆังโบราณ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ด้วยการติดตั้งเคลื่อนย้ายตําแหน่งของระฆังขึ้นใหม่ให้สัมพันธ์กับทํานองสวดสรภัญญะอันสื่อความหมายถึง ทํานองที่ไพเราะ สงบ แสดงถึงความเคารพศรัทธาในพุทธศาสนาตรงกับคติความเชื่อของผู้สร้างระฆังถวายวัดเป็นอย่างดี ส่วนระบบทะเบียนใหม่นั้นนํามาใช้บริหารจัดการข้อมูลระฆังราวไว้ให้มั่นคง เป็นหลักฐาน ประวัติ และการค้นคว้าข้อมูลวัตถุเพิ่มเติมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้จัดทําหนังสือนําชมระฆังโบราณ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว ณ โบราณสถานแห่งนี้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.subject ระฆัง
dc.title ระฆังโบราณ : การจัดทำทะเบียนและการสื่อความหมาย ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
dc.title.alternative An ancient bell: Registration and interpretation on Wat Phabuddhabat Rajavaramahavihara, Saraburi Province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to 1) study on socio-cultural landscape 2) cultural beliefon ancient bell pitch and its interpretive meaning 3) bells registrations, pitch composed and 4) interpretation handbooks. The criterion considerates for Knowledge Management, Cultural System Quality Management, Socio-Cultural Landscape, Classification Registration on Cultural Objects Program, Model of Interpretation ICOMOS Thailand and Ethnomusicology. Research outcomes found that temple was discovered B.E. 2167 during the reign of his majesty, Pra Chao Song Tam. and it was Royal Temple raised as the Visungkamsimaat 14.70 meters width and 29 meters length. There were overall 31 archaeological sites of Buddhism which one of them is Pra Mondop that was established the Buddha’s footprint inside with 21 inches width, 5 feet length and 11 inches depth. There were a belfry that contained 72 bells inside along which could be categorized into 6 groups. To illustrate, there were 8 groups of the bells that had been carved lines on side of their bodies, a SanvanPeth, crossedchainlined bell, a star flowers as Pikun arts lined bell, 4 contemporary bells as fine resonances sound, and 44 contemporary bells in order to record and combine details of materials to be an evidence included to record the history and research more about the information of the materials. The gotten information was recorded in the new program system for easily approachable. Then, managed the new pitch mode of ancient bells .After that, to applied the themes inSorrapanya Hymn as Buddha praying song which has a beautifully image in which represents as a peaceful mind and highly paying respect to Buddhism that related with the beliefof people who constructed and percussing offered the ancient bells to the Royal Temple. As the resolved, the researcher finally got the harmonized sound of the ancient bells along with the themes in Sorrapanya Hymn to be rhyme themes for interpretation. Beside, a proposed handbooks of ancient bells explanations and archaeological sites for learning, touring of WatPhrabuddhabat Rajavaramahavihara more conveniently
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account