DSpace Repository

การสร้างมาตรฐานตราสินค้าประจำจังหวัด : ผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.advisor พรสนอง วงค์สิงห์ทอง
dc.contributor.author ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:43:47Z
dc.date.available 2024-02-05T06:43:47Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12768
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ ที่พึงประสงค์เชิงรูปธรรมและนามธรรมของจังหวัดนครปฐม ระบุตราสินค้า และองค์ประกอบเรขศิลป์ของบริบทจังหวัดนครปฐม และเพื่อประเมินผลการออกแบบตราสินค้า องค์ประกอบเรขศิลป์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าต้นแบบจังหวัดนครปฐม โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย คือ (1) การศึกษาเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพจังหวัคนครปฐม และองค์ประกอบเรขศิลป์ โดย ทำการศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากปราชญ์ชุมชน นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กร ส่วนจังหวัด และการสนทนากลุ่มตัวแทนกลุ่มประชากร ผู้เชี่ยวชาญออกแบบและนักวิชาการ ออกแบบ และการสอบถามความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดนครปฐม ตลอดจน ประชาชนภายในและภายนอกจังหวัดจำนวน 400 คน (2) การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยใช้การปฏิบัติการออกแบบแบบมีส่วนร่วมกับนักออกแบบในจังหวัดนครปฐมและนักศึกษา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ การประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในจังหวัดนครปฐมต่องานออกแบบ ผลการศึกษาพบว่า เอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และองค์ประกอบศิลป์ในบริบททางธรรมชาติ คือ เป็นเมืองแห่งดินดำน้ำชุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินและพื้นน้ำ มีวิถีชีวิต เมืองแห่งเกษตรกรรม มีความหลากหลายทางพืชพรรณธัญญาหาร น่าอยู่ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ใกล้เมืองหลวง มีบุคลิกภาพและกลุ่มโทนสีที่บ่งบอกความเป็นธรรมชาติ สดชื่น เรียบง่าย สบาย ๆ มีความเป็นพื้นถิ่น ภาพประกอบที่มีลักษณะเหมือนจริง ตัดทอน และนามธรรม รูปแบบตัวอักษร ที่มีลักษณะเป็นอิสระ ไม่เป็นทางการ กึ่งทางการ บริบททางสังคม คือ เป็นสังคมที่มี องค์พระปฐมเจคีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในจังหวัดนครปฐม เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เป็น สังคมน่าอยู่ มีความเป็นธรรมชาติแบบเรียบง่ายอยู่ใกล้เมืองหลวง และเป็นเมืองแห่งการศึกษา สังคมเกษตรกรรม และเชื่อมั่นในวิถีแห่งคุณงามความดี อยู่ร่วมกันอย่างสงบ บุคลิกภาพและ กลุ่มโทนสีที่บ่งบอกความมีวัฒนธรรม ดูเป็นของพื้นถิ่น สบาย ๆ เป็นมิตร ประเพณีนิยม ภาพประกอบที่มีลักษณะเหมือนจริง ตัดทอน และนามธรรม รูปแบบตัวอักษรที่มีลักษณะทางการกึ่งทางการ หรือลักษณะประดิษฐ์ บริบททางเศรษฐกิจ คือ เมืองแห่งอาหาร เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเมืองแห่งครัวไทย ครัวโลก เมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีบุคลิกภาพและกลุ่มโทนสีที่บ่งบอกความตื่นตัวกระตือรือร้น เชี่ยวชาญน่าเชื่อถือ ดูเป็นเมืองร้อนทันสมัย ภาพประกอบที่มีลักยณะตัดทอน เหมือนจริง และนามธรรม รูปแบบตัวอักษรที่มีลักษณะกึ่งทางการ ลักษณะลายมือเขียน หรือลักษณะประดิษฐ์ บริบททางศิลปะและวัฒนธรรม คือ มีองค์พระปฐมเจดีย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประเพณีทางศาสนามีบุคลิกภาพและกลุ่มโทนสีที่บ่งบอกความมีวัฒนธรรม อมตะ มีค่า ประเพณีนิยม ดูเป็นของพื้นถิ่น ภาพประกอบที่มีลักษณะตัดทอน เหมือนจริง และนามธรรม รูปแบบตัวอักษรที่มีลักษณะทางการ หรือกึ่งทางการ ผลของการออกแบบตราสินค้าและบรรจุกัณฑ์จังหวัดนกรปฐม พบว่า ด้านการออกแบบตราสินค้าสมารถสร้างมูลค่าด้านการตลาด การสื่อความหมายจังหวัดนครปฐมอยู่ในระดับดีมาก ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถแสดงตัวตนและมีองค์ประกอบเรขศิลป์ตามบริบททั้ง 4 บริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและดีมากความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้พบว่าการสร้างตราสินค้าสำหรับจังหวัดเป็นการสร้างภาพตัวแทนเชิงรูปธรรมและนามธรรมที่เกิดจากการรับรู้และจดจำของผู้คน และคุณค่าตราสินค้าจะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคมีการตระหนักรู้ และสิ่งที่สำคัญในงานวิจัยนี้ คือ เอกลักษณ์ตราสินค้า องค์ประกอบศิลป์ และบรรจุกัณฑ์ เป็นการใช้องค์ประกอบในการออกแบบที่มาจากเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ และบุคลิกภาพจังหวัดนครปฐม เพื่อสร้างและสื่อสารเอกลักษณ์ตราสินค้า งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นคุณลักษณะของตราสินค้า องค์ประกอบเรขศิลป์ และบรรจุภัณฑ์มีส่วนสำคัญมากต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาบนพื้นฐานของแนวทางการออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกองค์ประกอบของการออกแบบของจังหวัดนครปฐม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject ชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- ไทย -- นครปฐม
dc.title การสร้างมาตรฐานตราสินค้าประจำจังหวัด : ผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม
dc.title.alternative Constructing stndrd provincil brnd: products of nkhon pthom province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to: 1) identify required abstract and concrete identity, image, and personality of Nakhon Pathom Province; 2) specify brand and graphic design element according to Nakhon Pathom Province contexts; and 3) evaluate brand, graphic design and packaging design of Nakhon Pathom product model. The research comprised 3processes: 1) study of identity, image, personality of Nakhon Pathom, including graphic design elements by examining relevant documents, in-depth interviews of community scholars, academics, provincial organizational administrators, and group discussion of population representatives, experts and academics in designing, and asking for opinion from stakeholders and Nakhon Pathom residents and nonresidents, totaling 400people. 2) Design product logo and package with the participation of designers in the province and students in visual communication design program. 3) Evaluate opinions and satisfactionof stakeholders in Nakhon Pathom towards the design work. The research results showed that as for identity, image, personality and graphic design elements in natural context, Nakhon Pathom was a town with fertility of soil and water, so it was an agriculture town with variety of plants and grains. Nakhon Pathom was a livable town near the capital, surrounded by nature. The types of graphic personality and tone of color were nature, cheerful, simple, and domestic. The types of illustrations were realistic, distortion, and abstraction with free style, informal, or semiformal font types. Regarding the social context, people took Phra Pathom Chedi as the holiest places and spiritual center. Nakhon Pathom was multicultural-society with simple nature, located next to Bangkok. It was an education town and was the agriculture society. The people strongly believed in value of goodness and lived peaceful life. The types of graphic personality and tone of color were cultured, domestic, simple, friendly and traditional. The types of illustration were realistic, distortion, and abstraction with formal, semiformal or display font types. According to the economic context, Nakhon Pathom was a town of agriculture and food industry. The town was also known for the world kitchen of Thailand and a cultural tourism town. The types of graphic personality and tone of color were active, expert, reliable, tropical and modern. The types of illustration were distortion, realistic, and abstraction with semiformal, handwriting or display font types. Regarding the art and culture context, Phra Pathom Chedi was the important holy places and the spiritual center of the people. Nakhon Pathom was the town of Dvaravati art and culture, as well as historical significance of Rattanakosin period. The town was well-known for religious and traditional identity aspects. The types of graphic personality and tone of color were cultured, immortal, precious, traditional and domestic. The types of illustrations were distortion, realistic, and abstraction with formal or semiformal font types. The research results showed that the product logo design could create marketing value. It could communicate Nakhon Pathom identify at the highest level. Additionally, the packaging design could express identity of Nakhon Pathom, and it had graphic design elements in 4contexts. Overall, the design was at a high and the highest level. Knowledge from the research indicated that the design of provincial brand created the abstract and concrete image from the perception and memory of the people. The value of brand was related to consumers’ realization. The significance of this research was that identity of brand, graphic element and product package were designed according to identity, image and personality of Nakhon Pathom Province. Additionally, this research showed that brand characteristics, graphic design elements and product package were important to stakeholders in developing basic designing guidelines. It also guided the stakeholders in selecting design elements of Nakhon Pathom.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account