Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การให้ความหมาย การรับรู้รูปแบบโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ลักษณะการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากบุคลากร และผู้ค้าสลากราย่อย และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ) การให้ความหมาย: สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้กำหนดความรับผิดชอบต่อสังคมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกฝังคนในองค์กรและประชาชนทั่วไปให้อนุรักษ์และรักยาสิ่งแวดล้อม 2) รูปแบบโครงการความรับผิดชอบต่อสั่งคม : เป็นรูปแบบของการบริจาคเพื่อการกุศลเป็นส่วนมากเป็น CSR-after-process คือ การรับผิดชอบต่อสังคมทำอยู่นอกกระบวนการ และเป็น Strategic-CSR การทำความรับผิดชอบต่อสังคมในเชิงรุก (Proactive) ที่องค์กรสามารถริเริ่มกิจกรรมด้วยตัวเองให้แก่สั่งคม 3) การรับรู้รูปแบบโครงการความรับผิดชอบต่อสั่งคม: ผู้บริโภคเห็นว่าการทำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรจะไม่มีวันทำสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนในองค์กร เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ย่อมต้องมีการติดต่อกับประชาชน และมีบทบาทในการสร้างความประทับใจหรือภาพลักษณ์ที่ดีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้าน CSR โดยสรุปแล้ว รัฐวิสาหกิจใด ๆ จะมีความรับผิดชอบต่อสังคมแท้จริงต่อสังคมด้วย การที่ไม่ละเมิดต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง คู่ค้า
ลูกค้าชุมชน สังคมและสิ่งเวคล้อม โดยรวม ทั้งทางแพ่งและทางอาญา เราต้องคำเนินธุรกิจให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย การส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะต้องประกอบด้วย
การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร กิจกรรมสร้างสรรค์ ความคาดหวัง การวัดผลหรือประเมินผลของกิจกรรม
CSR ความชัดเจน เป็นเรื่องของนโยบาย งบประมาณ ทรัพยากร ความสม่ำเสมอ กิจกรรมความรับผิดชอบ
ต่อสังคมของทุกองค์กรจะต้องปฏิบัติด้วยความจริงใจ ไม่ทำกิจกรรม เพียงเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
องค์กรหรือกิจกรรมที่พนักงานขององค์กรไม่ได้มีส่วนร่วมเลย หรือทำด้วยความไม่เต็มใจ แต่ต้องเป็น
การร่วมกันดำเนินการ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเป็นกิจกรรมที่น้อมนำองค์กรและสมาชิกในองค์กรเป็น
ส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมเกิดความใกล้ชิด ความร่วมมือกันในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพื่อ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน