Abstract:
งานวิจัยเรื่องภาพยนตร์ไทยนอกกระแสกับภาพสะท้อนปัญหาสังคมไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดประเด็นปัญหาสังคมและภาพมายาคติที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ค้นคว้าแสวงหาแนวคิดและสไตล์ของผู้กํากับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสอันนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนค้นหาแนวคิดอุดมการณ์ที่แท้จริงของผู้กํากับภาพยนตร์ในการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสในปัจจุบัน และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์นอกกระแส จากการศึกษา งานวิจัยเพื่อสะท้อนปัญหาสังคมไทย ซึ่งผู้วิจัยได้วางขอบเขตการศึกษาภาพยนตร์ไทยนอกกระแส ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2557 เป็นจํานวน 10 เรื่อง ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้กํากับภาพยนตร์ จํานวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์ไทยนอกกระแสส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อแสดงแนวความคิด ปัจเจกของผู้กํากับ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทยในทางอ้อมด้วยวิธีการตีแผ่มายาคติของสังคม แนวคิดของผู้กํากับภาพยนตร์มาจากประสบการณ์ส่วนตัว และสร้างสรรค์ภาพยนตร์ในรูปแบบสัจนิยมซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์นอกกระแสในต่างประเทศ ผู้กํากับภาพยนตร์นอกกระแส มีอุดมการณ์ตามแนวคิดมาร์กซิสต์อันมีแนวคิดที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก ซึ่งสิ่งนี้คือปัจจัย สําคัญที่ทําให้ภาพยนตร์นอกกระแสแตกต่างจากภาพยนตร์กระแสหลักผู้วิจัยสรุปองค์ประกอบ ในการสร้างภาพยนตร์นอกกระแสกับการสะท้อนปัญหาสังคมได้ดังนี้ คือ (1) ประเด็นทางสังคม (2) ประสบการณ์ส่วนตัว (3) อุดมการณ์ลัทธิมาร์กซิสต์ (4) ทัศนคติ (5) การตีแผ่มายาคติของสังคม (6) ความขัดแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลัก (7) สไตล์ภาพยนตร์นอกกระแส ซึ่งผู้วิจัยได้นําองค์ความรู้ดังกล่าวมาสร้างภาพยนตร์นอกกระแสที่สะท้อนปัญหาสังคมไทยจากประสบการณ์ชีวิตของผู้วิจัยเองได้อย่างสัมฤทธิ์ผล โดยผสมผสานรูปแบบเฉพาะตัวด้วยเรื่องราวจากเกมออนไลน์ เทคนิค Visual Effects และรูปแบบภาพยนตร์นอกกระแส เกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า ภาพยนตร์ สัจนิยมเสมือน