Abstract:
ความสามารถทางปัญญาเป็นทักษะทางสมองที่สำคัญสำหรับนักเรียน มีความสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้สติปัญญา และกระบวนการคิด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดรูปแบบการฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุแบบ 3 มิติและนํารปูแบบการฝึกไปใช้สําหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 60 คน ที่กําลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหัดชลบุรี สุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องรับโทรทัศน์แบบสามมิติขนาด 65 นิ้ว โปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ (NeuroTracker) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Newton, 2009) และแบบทดสอบความสามารถด้านความจําความหมาย (Test Of Semantic Skills–Intermediate: TOSS-I) สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ One-way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า รูปแบบการฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุสําหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมในการฝึก 5 ขั้น ได้แก่ การจําแนกสิ่งเร้า การบ่งชี้เป้าหมาย การเปลี่ยนตำแหน่ง การระบุเป้าหมาย และการตอบรับสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมาย ระยะเวลาในการฝึกทั้งหมด 20 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ผลของการนํารูปแบบการฝึกรับรู้ทางการมองเห็นด้วยโปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ไปใช้กับนักเรียนชั้นมธัยมศึกษาตอนต้น ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางปัญญาของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลัง การฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านความจําความหมายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) สรุปได้ว่า การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ สามารถเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้