DSpace Repository

การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุสำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรัชญา แก้วแก่น
dc.contributor.advisor สุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.author นันทา ลีนะเปสนันท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:54Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:54Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12663
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract ความสามารถทางปัญญาเป็นทักษะทางสมองที่สำคัญสำหรับนักเรียน มีความสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้สติปัญญา และกระบวนการคิด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดรูปแบบการฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุแบบ 3 มิติและนํารปูแบบการฝึกไปใช้สําหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 60 คน ที่กําลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหัดชลบุรี สุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องรับโทรทัศน์แบบสามมิติขนาด 65 นิ้ว โปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ (NeuroTracker) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Newton, 2009) และแบบทดสอบความสามารถด้านความจําความหมาย (Test Of Semantic Skills–Intermediate: TOSS-I) สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ One-way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า รูปแบบการฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุสําหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมในการฝึก 5 ขั้น ได้แก่ การจําแนกสิ่งเร้า การบ่งชี้เป้าหมาย การเปลี่ยนตำแหน่ง การระบุเป้าหมาย และการตอบรับสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมาย ระยะเวลาในการฝึกทั้งหมด 20 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ผลของการนํารูปแบบการฝึกรับรู้ทางการมองเห็นด้วยโปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ไปใช้กับนักเรียนชั้นมธัยมศึกษาตอนต้น ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางปัญญาของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลัง การฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านความจําความหมายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) สรุปได้ว่า การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ สามารถเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject การรับรู้ทางสายตา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- การทดสอบสติปัญญา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- จิตวิทยา
dc.subject การเห็น
dc.title การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุสำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Visul perception trining by pplying the theory of motion objects trcking for incresing cognitive bility in lower secondry school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Cognitive abilities are the brain-based skills, important for the students related to their learning, intelligence, and thinking process. The objectives of this research were to define visual perception training model by applying the theory of motion objects tracking for increasing cognitive ability in lower secondary school students. The participants were sixty male lower secondary school students studying in the academic year 2015 at Assumption College Sriracha, Chonburi. They were randomly and equally assigned to experimental and control groups. The research instruments comprised 3D TV 65 inches, NeuroTracker Program, spatial ability test (Newton, 2009) and semantic ability test (Test Of Semantic Skills–Intermediate : TOSS-I). One-way MANOVA was used to analyze the data. The results showed that the model of visual perception training program by applying the theory of motion objects tracking for increasing cognitive ability in lower secondary school students, including presentation, indexation, movement, identification and feedback. The duration of the training was 20 times 30 minutes each. After training with the Program, the experimental group had cognitive ability increased and higher than the control group (p<.01). The experimental group had higher spatial ability and higher semantic memory ability than the control group (p<.01). The results can be concluded that visual perception training program by applying the theory of motion objects tracking (NeuroTracker) is capable of increasing cognitive ability in lower secondary school students.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account