Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาที่ส่งผลต่อความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และทดสอบผลของการให้การปรึกษาต่อการพัฒนาความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมืองพัทยา 11 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความทนทานทางจิตใจ 48 ข้อ และโปรแกรมการให้การปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการเปรียบเทียบผล
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการให้การปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาที่สร้างขึ้นส่งผลในการพัฒนาความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยขนาดอิทธิพลใหญ่ของ Cohen ES .600 (95% CI [-26.176 ถึง -8.24]) การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างในระยะหลังการทดลองไม่สามารถสรุปความแตกต่างของความทนทานทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ โดยพบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบย่อยในด้านความยึดมั่นและการควบคุม ในขณะที่การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างในระยะติดตามผลพบความแตกต่างของความทนทานทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางที่ p < .05 และพบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบย่อย ในด้านความยึดมั่น การควบคุม และด้านความท้าทายเป็นหลัก