Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติของครู 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติของครู และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จากภาวะผู้นำ เชิงวิชาการของผู้บริหารและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) กำหนดขนาดโรงเรียนเป็นชั้น จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple correlation ) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนและแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนส่งผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ตัวแปรความมีคุณภาพ (X25), ความหลากหลายของบุคลากร (X29) การกำหนดพันธกิจโรงเรียน (X10) และความเอื้ออาทร (X27) สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ได้ร้อยละ 51.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในรูปคะแนนดิบ
Y = 1.532 + .256 (X25) + .153 (X29) + .113 (X10) + .108 (X27)
หรือสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
Z = .327 (Z25) + .200 (Z29) + .141 (Z10) + .152 (Z27)