Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ตามโมเดลของบาร์ออนที่ปรับปรุงใหม่สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และสร้างปกติวิสัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 1,830 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีข้อคำถามจำนวน 64 ข้อ วัดความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5 องค์ประกอบ 15 องค์ประกอบย่อย มีค่าอัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง -.20 ถึง 1.00 พารามิเตอร์อำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง .65 ถึง 2.18 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (มีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.95 ดัชนีวัดความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่คลาดเคลื่อนไปจากโมเดลทางทฤษฎีเท่ากับ .028 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ .98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้วเท่ากับ .96 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบเท่ากับ .99 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า เท่ากับ .035 ความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบวัดเท่ากับ .965