Abstract:
การใช้อุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น เป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาดหวังของผู้สูงอายุในประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในศูนย์ผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี โดยกลุ่มตัวอย่าง 175 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้สูงอายุในประสิทธิภาพในประสิทธิผล และความสามารถของตนเองระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระที่ศึกษาด้วย Independent t-test, one way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) คาดหวังว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิภาพระดับมาก (ร้อยละ 50.3) คาดหวังว่ามีประสิทธิผลระดับมาก และ (ร้อยละ 53.1) คาดหวังว่าตนเองจะสามารถใช้อุปกรณ์มากในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ พบว่าผู้สูงอายุที่มาใช้เวลาในการออกกำลังกายต่างกันคาดหวังว่าอุปกรณ์มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.020 โดยผู้สูงอายุที่มาใช้อุปกรณ์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เห็นว่าอุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่มาใช้อุปกรณ์ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้สูงอายุที่มีอายุและการศึกษาต่างกันคาดหวังว่าอุปกรณ์มีประสิทธิผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.009 และ 0.00 โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-64 ปี คาดหวังว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิผลมากกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-69 ปี และที่มีอายุ 75-79 ปี ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 70-74 ปี คาดหวังมากกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-69 ปี และผู้สูงอายุที่มีอายุ 70-74 ปี คาดหวังมากกว่าผู้สูงอายุ 80-85 ปี ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนหนังสือคาดหวังน้อยกว่าประถมศึกษาขึ้นไปและอนุปริญญาหรือต่ำกว่าคาดหวังน้อยกว่าผู้สูงอายุที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนนอกนั้นคาดหวังอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสามารถในการใช้อุปกรณ์ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับความคาดหวังของผู้สูงอายุ