DSpace Repository

ความคาดหวังของผู้สูงอายุที่ใช้บริการอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพในศูนย์ผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.author นิราภร พลตื้อ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-01-25T08:46:46Z
dc.date.available 2024-01-25T08:46:46Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12623
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การใช้อุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น เป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาดหวังของผู้สูงอายุในประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในศูนย์ผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี โดยกลุ่มตัวอย่าง 175 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้สูงอายุในประสิทธิภาพในประสิทธิผล และความสามารถของตนเองระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระที่ศึกษาด้วย Independent t-test, one way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) คาดหวังว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิภาพระดับมาก (ร้อยละ 50.3) คาดหวังว่ามีประสิทธิผลระดับมาก และ (ร้อยละ 53.1) คาดหวังว่าตนเองจะสามารถใช้อุปกรณ์มากในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ พบว่าผู้สูงอายุที่มาใช้เวลาในการออกกำลังกายต่างกันคาดหวังว่าอุปกรณ์มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.020 โดยผู้สูงอายุที่มาใช้อุปกรณ์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เห็นว่าอุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่มาใช้อุปกรณ์ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้สูงอายุที่มีอายุและการศึกษาต่างกันคาดหวังว่าอุปกรณ์มีประสิทธิผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.009 และ 0.00 โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-64 ปี คาดหวังว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิผลมากกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-69 ปี และที่มีอายุ 75-79 ปี ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 70-74 ปี คาดหวังมากกว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-69 ปี และผู้สูงอายุที่มีอายุ 70-74 ปี คาดหวังมากกว่าผู้สูงอายุ 80-85 ปี ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนหนังสือคาดหวังน้อยกว่าประถมศึกษาขึ้นไปและอนุปริญญาหรือต่ำกว่าคาดหวังน้อยกว่าผู้สูงอายุที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนนอกนั้นคาดหวังอุปกรณ์ที่ใช้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสามารถในการใช้อุปกรณ์ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับความคาดหวังของผู้สูงอายุ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การส่งเสริมสุขภาพ
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ
dc.title ความคาดหวังของผู้สูงอายุที่ใช้บริการอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพในศูนย์ผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี
dc.title.alternative The expecttions of older people who use the helth promotion eqiupment service to promote helth in the elderly center bngkok lumpini prk
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Using the health promotion equipment for the elder is one of the easier methods to help them exercise. This research has the objective of retrieve the opinion, efficiency, effectiveness, self – efficiency and expectations from the elder who paid the visit to the service of elder community center at Lumpini Park, Bangkok. From 175 members of our focus group, we recorded the data by the method of interviewing and analyzing the average, percentage, standard deviation and comparing their expectations, efficiency , effectiveness, self- efficiency with individual variation based on Independent T- test and One way ANOVA The result showed that the majority of elder had high expectations in efficiency (60.0%) and effectiveness (50.3%) and also high self- efficacy (53.1%). Compare the expectations of equipment, that different older who use the time to exercise expected equipment have different efficiency significantly at 0.020. The older who use the equipment less than 2 hours expected the equipment had efficiently more than the older who use the equipment more than 2 hours. The older who had different age and education expected equipment have different effective significantly at 0.009 and 0.000. The older in age range 60-64 years expected the equipment had efficiently more than the older in age range 65-69 and 75-79 years, the older in age range 70-74 years expected the equipment had efficiently more than the older in age range 65-69 years, The older in age range 70-74 years expected the equipment had efficiently more than the older in age range 80-85 years. The older unschooled expected less than elementary and above, The older associate degree expected less than bachelor’s degree. Otherwise expected efficiency, effectiveness and self-efficiency no significant differences. So the plan to provide health promotion equipment for the expect of the elder is highly recommendation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account