Abstract:
ประชาชนออกกำลังกายน้อยลง เสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของประชาชน เทศบาลตำบลแสนภูดาษ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีอายุ 25-59 ปี ที่เป็นสมาชิก ในครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง 264 คน ข้อมูลเก็บด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก และพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และถดถอยแบบลอจีสติก ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง ซึ่งพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.7 ที่ออกกำลังกาย โดยมีพฤติกรรมการออกกำลังกายครบตามเกณฑ์ร้อยละ 42.0, ออกกำลังกายแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ร้อยละ 19.7 และที่ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 38.3 ประชาชนมีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกระดับมาก ร้อยละ 74.6 และ 42.8 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า มีความสัมพันธ์กันทั้งแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.000 โดยแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกมีปริมาณความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายร้อยละ 16.6 และ 8.8 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ด้วยถดถอย แบบลอจีสติก พบว่า ประชาชนที่มีแรงจูงใจภายในมากมีโอกาสออกกำลังกายเป็น 2.85 เท่าของประชาชนที่มีแรงจูงใจภายในไม่มาก ข้อเสนอแนะโดยนำการรณรงค์การสร้างสวนสุขภาพ และการนำบุคคลตัวแบบมาสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย