Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์วัสดุรูพรุนซิลิกาที่มีหมู่ฟังก์ชันบนผิวรูพรุน โดยหมู่ฟังก์ชันดังกล่าวคือหมู่เอมีน ซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาโคคอนเดนเซชันระหว่างสารตั้งต้น 2 ชนิด ได้แก่ tetraethoxysilane (TEOS) และ n-(2-aminoethy)-3-aminopropyltrimethoxysilane (AEAP) หมู่เอมีนจะเป็นลิแกนด์หนึ่งของสารตั้งต้น AEAP ซึ่งจะไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ระหว่างการสังเคราะห์แล้ว ในงานวิจัยนี้จะศึกษาผลของปริมาณสารตั้งต้น AEAP (0-50 mo1%) ที่มีต่อคุณลักษณะของวัสดุรูพรุนที่สังเคราะห์ได้ ได้แก่ พื้นที่ผิวจำเพาะ (Specific surface area) ปริมาตรรูพรุน (Pore volume) ขนาดรูพรุน (Pro size) ความสามารถในการดูดซับเมื่อประยุกต์ใช้วัสดุรูพรุนนี้เป็นสารดูดซับสำหรับไอระเหยฟอร์มัลดีไฮด์ จากผลการวิจัย พบว่า ปริมาณสารตั้งต้น AEAP มีผลต่อพื้นที่ผิวจำเพาะและปริมาตรรูพรุน กล่าวคือ เมื่อเพิ่มปริมาณสารตั้งต้น AEAP จะทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะและปริมาตรรูพรุนของสารดูดซับลดลง แต่การเพิ่มปริมาณสารตั้งต้น AEAP นี้จะเป็นการเพิ่มหมู่เอมีนบนผิวรูพรุนซึ่งจะสังเกตได้จากการที่สารดูดซับมีความสามารถในการดูดซับไอระเหยฟอร์มันดีไฮด์ได้มากขึ้น เมื่อปริมาณสารตั้งต้น AEAP เพิ่มขึ้น นั้นมีขีดจำกัดอยู่ที่ 15 mo1% ซึ่งทีปริมาณดังกล่าวจะทำให้ได้สารดูดซับที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือสามารถดูดซับไอระเหยฝฟอร์มัลดีไฮต์ได้มากกว่า 1,200 mg/g