Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยของพืชทั้ง 4 ชนิด คือ ไพล ขมิ้นชัน ขิง ข่า ด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ โดยศึกษาเปรียบเทียบถึงขนาดของพืชตัวอย่าง และวิธีการกลั่นที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำมันหอมระเหยที่ได้ ทำการทดลองโดยนำพืชตัวอย่าง 500 กรัม มากลั่นด้วยน้ำปริมาตร 1.3 ลิตร เป็นระยะเวลา 4 ช.ม. จาการทดลอง พบว่า พืชตัวอย่างที่มีขนาดละเอียดจะกลั่นน้ำมันได้มากกว่าพืชตัวอย่างที่มีขนาดหยาบ การกลั่นด้วยน้ำจะให้ปริมาณน้ำมากกว่าการกลั่นด้วยไอน้ำ ในการกลั่นด้วยน้ำ ไพล ขมิ้นชัน ข่าและขิงที่มีขนาดละเอียดกลั่นน้ำมันได้ประมาณ 4.50 ml (0.9148%v/w),4.58 ml (0.9148%v/w), 0.32 ml (0.0629%v/w) และ 0.71 ml (0.1369%v/w) ตามลำดับ และวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟฟี่ (GC) พบสารซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมละเหยจากขมิ้นชันอยู่ 11 ชนิด คือ œ-phellandrene, cymene, 1,8-cineole, terpinolene, caryophyllene, ar-cuemene, β-bisabolene, β-sesquiphellandrene, β-turmerone+ar-turmerone และ curlone พบสารซึ่งเป็นองคืประกอบหลักในน้ำมันหอมละเหยจกข่าอยู่ 14 ชนิด คือ œ-pinene, 1,8-cineole, terpinen-4-ol, œ-terpineol, chavicol, phenol-4-(2-propeny)acetate, phenol-4-(2-propenyl)acetate, caryophyllene, œ-humulene, trans-β-farnrsene, β-eudesmene, œ-selinene, β-bisabolene และ germacrene B พบสารซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากขิงอยู่ 15 ชนิด คือ œ-pinene, camphene, β-myrcene, β-phellaqndrene, 1,8-cineole, linalool, citronellol, neral, geraniol, geranial, ar-curcumene, zingiberene, β-bisabolene, β-sesquiphellandrene และ Zingiberenol