Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาถึงอิทธิพลของสารจับออกซิเจน (oxygen scavenger) ต่อคุณสมบัติทางกล ทางกายภาพ และทางชีวภาพของฟิล์มพลาสติกถนอมอาหาร พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ oxygen scavenger มากขึ้น ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของฟิล์มพลาสติกลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ฟิล์มพลาสติกมีความขุ่นมากขึ้น ในส่วนของคุณสมบัติทางชีวภาพ ทำการทดสอบโดยนำอาหาร ได้แก่ วิปปิ้งครีม น้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันปาล์มมาบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติก จากนั้นทำการทดสอบคุณภาพของอาหาร พบว่าสำหรับวิปปิ้งครีม จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในวิปปิ้งครีมมีปริมาณน้อยกว่าที่มาตรฐานกำหนดมาก คือมากสุด 14,735 CFU/ml ซึ่งมาตรฐานกำหนดไว้ว่ามีจำนวนจุลินทรีย์ได้ไม่เกิน 10^5 CFU/ml การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สอดคล้องกับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในวิปปิ้งครีม การหืนอันเนื่องมาจากจุลินทรีย์ (Free Faty Acid, FFA) และการหืนอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Peroxide Value,Pv) การเพิ่มปริมาณ oxygen scavenger ลงในบรรจุภัณฑ์มีผลในการลดปริมาณจุลินทรีย์ แต่ระดับความหืนไม่ต่างกันมาก น้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันปาล์มถูกทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเมล็ดทานตะวันเนื่องจากมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงกว่าเมล็ดทานตะวันมาก คุณสมบัติโดยรวมอันได้แก่ การหืนจากจุลินทรีย์ ความหนืด และความขุ่นของน้ำมันไม่ต่างกัน ยกเว้น น้ำมันเล็ดทานตะวัน แสดงให้เห็นว่า เกิดการหืนจากปฏิกิริยาออกซิเจนสูงกว่า ปริมาณ oxygen scavenger ที่แตกต่างกันในบรรจุภัณฑ์ไม่ส่งผลกรทบต่อคุณสมบัติของน้ำมันทั้งสอง