Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแม่พิมพ์ช่วยผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องและทดสอบประสิทธิภาพของแม่พิมพ์ รูปแบบการศึกษา การพัฒนาและทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรเป้าหมายคือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และแพทย์ใช้ทุนของคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2563-2564 ขนาดของตัวอย่างที่คำนวณได้คืออย่างน้อย 28 คน โดยอาสาสมัครทุกคนต้องเคยเข้าช่วยผ่าตัดคลอดบุตรมาแล้วอย่างน้อยสามราย วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างแม่พิมพ์แผลผ่าตัดต้นแบบชนิด Pfannenstiel ตามข้อกำหนดของบาดแผล ดังกล่าว หลังจากนั้นได้ให้อาสาสมัครได้ทดลองใช้แม่พิมพ์นี้ในสถานการณ์จำลองของการผ่าตัดคลอด ซึ่ง แบ่งเป็นสองสถานี ได้แก่ สถานีแบบเดิมและสถานีที่มีการใช้แม่พิมพ์ช่วยผ่าตัด เมื่อสิ้นสุดการทดลองในแต่ละสถานีจะให้อาสาสมัครประเมินการรับรู้ประสิทธิภาพตนเองในการลงมีดผ่าตัดคลอดบุตร ส่วนลักษณะบาดแผล จาการทดลองทั้งสองสถานีจะได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา มีอาสาสมัครเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 32 ราย เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่หกจำนวน 14 คน พบว่านิสิตมีคะแนนการรับรู้ประสิทธิภาพของตนเองในการลงมีดผ่าตัดคลอดเพิ่มมากขึ้นในสถานีที่มีการใช้ แม่พิมพ์ช่วยผ่าตัด (t=-17.67, p<.01) และผลการประเมินความสวยงามของแผลผ่าตัดพบว่าบาดแผลผ่าตัดที่ใช้แม่พิมพ์มีความค่าคะแนนดีกว่าบาดแผลที่ไม่ได้ใช้แม่พิมพ์ (t=9.94, p≤.01) อาสาสมัครส่วนใหญพึงพอใจต่อแม่พิมพ์แผลผ่าตัดคลอดบุตร สรุป แม่พิมพ์ผ่าตัดคลอดช่วยเพิ่มการรับรู้ประสิทธิภาพในตนเองของอาสาสมัครและท าให้บาดแผลมีความ สวยงามมากกว่าการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์แบบเดิม