DSpace Repository

ศิลปะจากขยะทะเลเพื่อพื้นที่สาธารณะ : กรณีศึกษาหาดวอนนภา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรดี พันธุภากร
dc.contributor.advisor ปิติวรรธน์ สมไทย
dc.contributor.author ศุภรา อรุณศรีมรกต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:57:02Z
dc.date.available 2023-09-18T07:57:02Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10247
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ชายหาดบางแสน หมู่บ้านชาวประมงและสวนสาธารณะหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรีและทำการวิเคราะห์เพื่อทดลองและหากระบวนการสร้างสรรค์วัสดุจากขยะทะเลในการพัฒ นาต้นแบบศิลปะจากเศษขยะทะเลที่เกิดความเหมาะสมและสะท้อนถึงเรื่องราวของพื้นที่สวนสาธารณะหาดวอนนภาจังหวัดชลบุรีนอกจากนี้ยังเป็นวิธีการกำจัดขยะบริเวณชายหาดเพื่อลดปริมาณขยะตกค้าง ตลอดจนเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานอื่นใช้ต่อยอด ผลการศึกษาพื้นที่พบว่า เศษขยะประเภทขวดน้ำพลาสติกชนิด PET โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต มีปริมาณมากบริเวณพื้นที่ชายหาดบางแสน จึงนำมาทดลองด้วยการหลอมความร้อนที่ 230 องศาเซลเซียส ผลที่ได้พลาสติกละลายตามแม่แบบรูปทรงที่กำหนด จากนั้นได้ทำการศึกษา กระบวนการพัฒนาเศษขยะวัสดุท้องถิ่นที่เกิดจากการใช้แล้วทิ้งบริเวณชายหาดวอนนภา ได้แก่ เชือกแห และอวน เพื่อสร้างวัสดุรูปแบบใหม่โดยผสมกับเรซิ่นซึ่งเป็นวัสดุที่มีความใกล้เคียงทั้งคุณสมบัติและคุณลักษณะกับพลาสติกจากกระบวนกการทดลองวัสดุทั้ง 2 รูปแบบ สรุปได้ว่า วัสดุรีไซเคิลพลาสติกมีความเปราะบางและแตกหักง่ายกว่า วัสดุเรซิ่นในด้านพื้นผิว (Texture) วัสดุทั้ง 2 แบบให้พื้นผิวที่เรียบแตกต่างที่เรซิ่นให้ความโปร่งใส สามารถมองเห็นเศษขยะทะเลที่อยู่ภายในได้ดีพลาสติกรีไซเคิล จะมีลักษณะทึบแสง สีขาวขุ่น มีลวดลายคล้ายกระเบื้องหินอ่อน การดำเนินการวิจัยสร้างสรรค์นี้ได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมชุมชนที่ส่งผลต่อแนวคิดในการเชื่อมโยงผลงานศิลปะกับสภาพแวดล้อม โดยอ้างอิงหลักการทฤษฎีทางศิลปะและการออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบประติมากรรมจัดวาง (Sculptural Installation) ผลที่ได้จากการวิจัยสร้างสรรค์นี้ ประกอบด้วยผลงาน 4 รูปแบบ คือ 1. ผลงานศิลปะขยะทะเลจากขวดน้ำพลาสติก 2. ผลงานศิลปะ ขยะทะเลจากความไม่สมบูรณ์ของวัสดุพลาสติก 3. ผลงานศิลปะขยะทะเลจากเศษพลาสติก ส่วนเกินในขั้นตอนการหลอมเศษพลาสติก 4. ผลงานศิลปะขยะทะเลจากแห อวน เชือกของการทำประมงโดยภาพรวมด้านสุนทรียภาพการรับรู้ของผลงาน แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่ขัดแย้งของวัสดุแต่ก็มีความกลมกลืนเมื่อนำมาประกอบกับวัสดุธรรมชาติจากไม้ทั้งในลักษณะหน่วยย่อยและภาพรวมของผลงานที่สื่อสารเรื่องราวความเป็นธรรมชาติในบริบทสมัยใหม่ซึ่งมีความแตกต่างจากการเห็นคลื่นทะเลปกติทั่วไป รูปแบบการซ้ำ และการกระจายจังหวะของจุดและเส้นในแนวนอน และแนวตั้งที่ใช้การลดหลั่นระดับสูงต่ำของผลงานก่อให้เกิดเส้นลวงสายตา (Perceptual Line) เป็นการเชื่อมโยงทางสายตาคล้ายระดับของคลื่นที่สามารถแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวและสอดคล้องกับรูปทรงต้นแบบของคลื่นทะเล
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject ขยะในทะเล
dc.subject ศิลปะ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title ศิลปะจากขยะทะเลเพื่อพื้นที่สาธารณะ : กรณีศึกษาหาดวอนนภา
dc.title.alternative Art from mrine debris for public spce : cse study of von np bech
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to study the area of Bangsaen beach, the fishing village, and Von Napa Beach Park, Chonburi Province and to analyze the process of creating materials from marine debris for the development of marine debris art prototypes which are suitable and reflect the story of Von Napa Beach Park area, Chonburi province. It is also one of the ways to dispose of waste on the beach to reduce the amount of residual waste, as well as to be a template for other segments to maximize the benefits. The results found that most of the marine debris found on Bangsaen beach is plastic bottles (Pet Polyethylene Terephthalate); therefore, the researcher used PET plastic to experiment with heat at 230 degrees Celsius to find the process of plastic deformation. The result is that plastic melts according to the specified shape template. Then the researcher studies the process development of local disposable wastes at Von Napa beach, such as ropes, fishing nets and nets, to create a new type of material by mixing with resin; a material is similar to both properties and characteristics of plastics. According to the experiment process, both materials concluded that plastic recycled materials are more fragile and broken than resin materials. In terms of texture, both materials provide a smooth surface and the difference is that the resin is transparent and be able to recognize the marine debris inside. On the other hand, recycled plastics show opaque, turquoise appearance, and pattern resembling marble tiles. This creative research was inspired by the cultural community that influences the concept of connecting between the artworks and the environment. It is based on the theoretical principles of art and design theory to create sculptural installations. The results of this creative research consist of 4 types of works: 1. Marine Debris Art from Plastic Bottles 2. Marine Debris Art from Imperfection of Plastic Material 3. Marine Debris Art from Excess Plastic Scraps in Melting Process 4. Marine Debris Art from Fish Netting and Rope. The overall aesthetics perception of art works demonstrates a material contradiction, but it is harmonious when combined with natural materials from wood of both as a sub-unit and as an overview of works to communicate a natural story in a modern context which is different from natural sea waves. The repetition and rhythmic distribution patterns of horizontal and vertical points and lines using high-low cascades of the work produce the perceptual line, a visual link similar to the level of waves that can be expressed the sense of movement and to conform the original shape of the ocean waves.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account