Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของสำนักหอสมุด การใช้บริการสำนักหอสมุด และความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุดในมุมมองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร สำนักหอสมุด การใช้บริการสำนักหอสมุด และความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด จำแนกตามลักษณะประชากร 3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้บริการและความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของสำนักหอสมุด และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการกับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิด สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสหสัมพันธ์แบบ Pearson’s correlation ผลการศึกษาพบว่า 1) ช่องทางที่มีการเปิดรับเป็นมากที่สุดคือเฟซบุ๊กของสำนักหอสมุด จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 68.00 การใช้บริการโดยรวมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาอยู่ในระดับบ่อย ( X = 3.69) และระดับความพึงพอใจต่อการใชบริการ สำนักหอสมุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.79) 2) ลักษณะทางประชากรที่ต่างกันทำให้มีระดับการใช้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าอายุชั้นปีและรายได้ที่ต่างกันทำให้ระดับการใช้บริการด้านบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยนิสิตที่มีอายุ 20 ปี มีระดับการใช้บริการสำนักหอสมุดมากกว่านิสิตในช่วงอายุ 21 ปีและชั้นปีที่ 2 มีระดับการใช้บริการ สำนักหอสมุดมากกว่าชั้นปีที่ 3 และรายได้สูงกว่า 10,000 บาท มีการใช้บริการทรัพยากร สารสนเทศมากกว่านิสิตที่มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท 3) ลักษณะทางประชากรที่ต่างกันทำให้มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าอายุที่ต่างกันทำให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และชั้นปีที่ต่างกันทำให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 รวมถึงรายได้ที่ต่างกันทำให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารต่างกัน ทำให้การใช้บริการสำนักหอสมุดของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า ประเภทข่าวสารต่างกัน ทำให้การใช้บริการ สำนักหอสมุดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน โดยนิสิตที่เปิดรับข่าวสารข่าวเกี่ยวกับหนังสือใหม่มีระดับการใช้บริการของสำนักหอสมุดมากกว่าการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับด้านอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งความถี่ที่ใช้เปิดรับต่างกัน ทำให้การใช้บริการ สำนักหอสมุดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน ทำให้การใช้บริการสำนักหอสมุดของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยนิสิตที่มีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารอยู่ระหว่าง 6 – 10 ครั้ง มีระดับการใช้บริกาของสำนักหอสมุดมากกว่าความถี่ในการเปิดรับข่าวสารช่วงอื่น ๆ ด้วย 5) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่ต่างกัน ทำให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า ประเภทข่าวสารและระยะเวลาที่ต่างกัน ทำให้ระดับระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยนิสิตที่เปิดรับข่าวสารข่าวเกี่ยวกับหนังสือใหม่มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุดมากกว่าการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับด้านอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่เปิดรับข่าวเกี่ยวกับบริการสื่อบันเทิงมีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพามากกว่านิสิตที่เปิดรับข่าวเกี่ยวกับการบริการวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6) การใช้บริการสำนักหอสมุดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาจากการศึกษาพบว่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจโดยรวมกับการใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพามีความสัมพันธ์กันในระดับมากที่สุด (r = .837) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพามีการจัดการสารสนเทศ เพื่อให้บริการอย่างครบครับ อีกทั้งยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมาย อันเป็นผลจากการนำสื่อใหม่ที่มีการพัฒนามาใช้เพื่อให้เกิดการเปิดรับข่าวสารที่ครบถ้วน ถูกต้องจึงทำให้ผลการศึกษาในครั้งนี้ ออกมาในทิศทางบวก และเกิดความพึงพอใจในระดับมากในทุกมิติ